วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552

Alfalfa







Alfalfa คืออะไร
Alfalfa (Lucene) จัดเป็นพืชจำพวกตระกูลถั่วที่มีฝัก เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียตะวันตก และแถบเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก เป็นพืชชนิดแรก ๆ ที่ใช้เพื่อการเพาะปลูก เติบโตได้ในแถบทุกอากาศทั่วโลก Alfalfa มีระบบรากที่มหัศจรรย์มาก ในบางพื้นที่รากของ Alfalfa สามารถชอนไชลงไปได้ลึกกว่า 130 ฟุต จึงมีประสิทธิภาพในการดูดซึมธาตุอาหารได้มากกว่าและบริสุทธิ์กว่า อีกทั้งตัวของ Alfalfa เองก็จะไม่สะสมสารพิษ ชาวอาหรับโบราณรู้จักใช้ประโยชน์จาก “Alfalfa” มากว่า 2,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยใช้เป็นพืชเลี้ยงสัตว์ เพื่อเพิ่มความเร็วและแข็งแรงให้กับม้า อีกทั้งยังใช้ใบมาตากแห้งชงเป็นชาดื่ม ด้วยคุณค่าทางอาหารที่มากมายชาวอาหรับจึงขนานนาม Alfalfa ให้เป็น AL-FAS-FAH-SHA หรือ “ราชาแห่งอาหารทั้งมวล”

Alfalfa ใด้ถูกใช้เพื่อการรักษาทางการแพทย์มาตั้งแต่ในสมัยโบราณ โดยแพทย์ชาวจีนได้ใช้ใบ Alfalfa อ่อนในการรักษาอาการย่อยไม่ปกติ เช่นเดียวกันกับแพทย์ชาวอินเดียที่ใช้ใบ และดอกสำหรับการรักษากระบวนการย่อยทำงานที่ทำงานได้น้อย นอกจากนี้ Alfalfa ยังใช้เพื่อการบำบัดโรคข้อต่ออักเสบ ชาวอินเดียนในอเมริกาเหนือได้แนะนำให้ใช้ Alfalfa ในการรักษาโรคดีซ่าน และช่วยสนับสนุนการจับตัวของเลือด แพทย์ที่ใช้สมุนไพรเพื่อการบำบัดในสหรัฐอเมริการได้แนะนำให้ใช้ Alfalfa เป็นยาสำหรับอาการย่อยไม่เป็นปกติ ภาวะโลหิตจาง เบื่ออาหารและอาการการดูดซึมอาหารไม่ดี นอกจากนี้ยังแนะนำว่า Alfalfa มีส่วนกระตุ้นให้การหลั่งน้ำนมในแม่ดีขึ้นอีกด้วย

สารที่ประกอบอยู่ใน Alfalfa
ด้วยระบบรากที่มีประสิทธิภาพในการดูดซึมธาตุอาหารมากกว่าพืชชนิดใด ๆ เป็นผลให้ Alfalfa เป็นพืชที่มีส่วนประกอบของสารต่าง ๆ มากมาย มี กรดอะมิโน ที่จำเป็นต่อร่างกายถึง 8 ชนิด เช่น lsoleucine, Leucine, Lysine, Methionine เป็นต้น ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ แต่จำเป็นต้องมีไว้เพื่อประโยชน์ในการสร้างเซลล์ใหม่ อีกทั้ง Alfalfa ยังมีวิตามินอีกมากมาย รวมถึง วิตามิน A, B1, B6, B8, B12, C, D, E, K, P และ U รวมทั้งยังประกอบไปด้วยเกลือแร่อีกหลากชนิด เช่น ฟอสฟอรัส โปรแตสเซียม แคลเซียม สังกะสี เซเลเนียม และแมกนีเซียม เป็นต้น และยังมีเอนไซม์หลักอีกถึง 8 ชนิด คือ ไลเปส อาเมเลล โคกุเลส อีมูลซิน อินเวอร์เคส เปอร์อ๊อกซีเตส เพดติเนส โปรตีส นอกจากนี้ Alfalfa ยังมีส่วนประกอบของสารอื่น ๆ อีก เช่น Betacarotene, Bioflavinoids, Carotene, Chlorine Chlorophyll , flavone, isoflavone, sterol และ Saponin เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นสารที่ให้คุณต่อร่างกายด้วยกันทั้งนั้น

Alfalfa กับการใช้เพื่อสุขภาพสตรีวัยใกล้หมดประจำเดือน
สตรีวัยใกล้หมดประจำเดือน ควรรับประทาน Alfalfa เป็นประจำ
สาร isoflavone ใน Alfalfa ถูกจัดเป็นเอสโตรเจนธรรมชาติ (phytooestrogen) ในสตรีในวันใกล้หมดประจำเดือน เอสโตรเจนจะลดต่ำลงส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายและภาวะกระดูกเสื่อม ไฟโต-เอสโตรเจนใน Alfalfa จะเข้าไปชดเชยเอสโตรเจนที่ต่ำลงนี้ รวมทั้ง วิตามินดี แร่ธาตุ แคลเซียมและฟอสฟอรัส ใน Alfalfa ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ทำให้กระดูกฟันแข็งแรง จึงลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะกระดูกเสื่อม นอกจากนี้วิตามินและแร่ธาตุใน Alfalfa จะช่วยให้ร่างกายปรับสภาพได้อย่างเหมาะสม ลดอาการผิดปรกติในช่วงนี้ของอายุ เช่น อาการร้อนวูบวาบตามตัว หงุดหงิดง่ายลงด้วย

ประโยชน์ด้านอื่นๆ ของ Alfalfa

Alfalfa กับภาวะ คลอเลสเตอรอล สูง
จากการศึกษาในห้องทดลองพบว่า สาร saponin และส่วนประกอบอื่นใน Alfalfa มีความสามารถในการยึดติดใน คลอเลสเตอรอล กับเกลือน้ำดีซึ่งจะเป็นผลช่วยป้องกันหรือชลอการดูดซึม คลอเลสเตอรอล จากอาหาร ดังนั้นจึงช่วยให้ระดับ คลอเลสเตอรอล ในเลือดต่ำ ป้องกันการเกิดภาวะการสะสมไขมันในหลอดเลือด ในการศึกษาผู้ป่วย 15 คน โดยให้ Alfalfa ขนาด 40 กรัม 3 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่า คนไข้มีระดับ คลอเลสเตอรอล รวมและ คลอเลสเตอรอล แบบ LDL (คลอเลสเตอรอล ชนิดเป็นโทษ) ลดลง 17-18% ในขณะที่มีบางส่วนลดลงถึง 26-30% จึงอาจกล่าวได้ว่า Alfalfa มีส่วนช่วยในการควบคุมระดับความเข้มข้นของ คลอเลสเตอรอล ให้เป็นปกติ

Alfalfa ช่วยทำความสะอาดผิวจากภายใน
ครอโรฟิลล์ ปริมาณสูง วิตามิน และแร่ธาตุที่มีอยู่ใน Alfalfa ด้วยปริมาณที่เหมาะสม จะทำหน้าที่ขจัดของเสีย สารพิษออกจากเลือดและอวัยวะภายใน (Blood and Bowel cleanser) ลดการตกค้างของเสียตามผิวหนัง ทำให้เลือดสะอาดและไหลเวียนได้ดีขึ้นเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่รับประทานมากและชอบรับประทานเนื้อสัตว์ เมื่อเลือดดีขึ้นทำให้ผิวพรรณผ่องใสมีสุขภาพที่ดีตามมา นอกจากนี้ใน Alfalfa ยังมีสาร ไฟโต-เอสโตรเจน ช่วยปรับสมดุลย์ฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งพบว่าในคนที่มีสิวง่าย เมื่อรับประทาน Alfalfa ปริมาณการเกิดสิวจะลดลงและผิวจะดูสะอาดขึ้น

Alfalfa กับโรคกระเพาะอาหาร
มีแพทย์จำนวนมากที่ใช้ Alfalfa รักษาโรคที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารต่าง เช่น มีแก๊สมากในกระเพาะอาหารเกิดอาการจุกเสียดเป็นประจำ โรคแผลในกระเพาะอาหาร และโรคเบื่ออาหาร โดยพบว่า Alfalfa มีวิตามินยู ซึ่ง ดร. กาเนนท์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย สแตนฟอร์ด กล่าวว่า วิตามินยู มีศักยภาพสูงในการรักษาโรคกระเพาะ ทำให้การสมานแผลในกระเพาะดีขึ้น และการหลั่งของน้ำย่อยเป็นปกติ

Alfalfa ยังมีเอ็นไซม์ Bataine ซึ่งเป็นเอ็นไซม์สำหรับย่อยและเอ็นไซม์อื่น ๆ อีก 7 ชนิดที่ส่งเสริมปฏิกิริยาเคมีที่สามารถทำให้การดูดซึมสารอาหารภายในร่างกายเป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมทั้งการมีเบต้าแคโรทีนในปริมาณสูงของ Alfalfa จะทำให้ผิวที่เคลือบกระเพาะอาหารมีความแข็งแรง ซึ่งพบว่า Alfalfa สามารถช่วยโรคกระเพาะอาหาร ปวดท้องเพราะมีแก๊สมาก รักษาแผลในกระเพาะลำไส้ ได้เป็นอย่างดี การรักษาโรคของหญ้า Alfalfa นี้อาจจะเป็นในลักษณะเดียวกันกับวิธีทางธรรมชาติของแมวหรือสุนัข ที่มักจะกินหญ้าเพื่อบรรเทาโรคกระเพาะของมันได้

ปวดข้อ ข้อแข็ง รูมาตอยด์ แก้ไขได้ด้วย Alfalfa
สารอาหารใน Alfalfa จะช่วยปรับสมดุลย์ กรด-ด่าง ในร่างกาย ป้องกันการสะสมของกรดยูริคและกรดอื่น ๆ ตามข้อต่อต่าง ๆ ในหนังสือของ แคทเทอรีน เอลวูล ชื่อ Feel Like a Million ได้กล่าวว่า “ความมหัศจรรย์ของ Alfalfa เห็นได้อย่างชัดเจนมากขึ้น เมื่อให้คนไข้รูมาตอยด์ ใช้ Alfalfa เพื่อรักษาความปวดตามข้อ ก็ได้รับรายงานจากคนไข้ว่าสามารถงอมือได้สะดวกยิ่งขึ้นและความเจ็บปวดก็หายไป

นอกจากนี้ Alfalfa ยังดีสำหรับมารดาที่กำลังให้นมบุตร ช่วยเพิ่มการหลั่งของน้ำนม Alfalfa ยังมีคุณสมบัติในการช่วยขับถ่าย ปัสสาวะให้เป็นปกติได้อีกด้วย

Alfalfa กับโรค มะเร็ง
มีการศึกษาทั้งในมนุษย์ สัตว์ และระบบเชื้อเพาะเลี้ยงพบว่า สาร phytoestrogens มีบทบาทที่สำคัญในการป้องกันโรค มะเร็ง ได้ โดยสารที่จัดว่าเป็นสารประเภท phytoestrogens จะรวมถึง isoflavones, coumestans, และ lignans ซึ่งในหน่อของ Alfalfa ถั่วเหลือง และต้น clover ถือว่าเป็นแหล่งอาหารทางธรรมชาติที่สำคัญของสารดังกล่าว ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีข้อแนะนำในขนาดที่ควรรับประทานสาร phytoestrogens อย่างชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามการเพิ่มการบริโภคอาหารประเภทดังกล่าวจะก่อประโยชน์และป้องกันการเกิดโรคมะเร็งในร่างกายเราได้เป็นอย่างดี

รูปแบบและขนาดรับประทาน
รูปแบบของ Alfalfa ที่มีในปัจจุบันมีทั้งเป็นแบบผงชาใช้ชงรับประทาน เม็ด หรือแคปซูล โดยถ้าเป็นชาแนะนำให้ใช้ขนาด 1-2 ช้อนโต๊ะต่อถ้วยโดยต้มให้เดือดประมาณ 10-20 นาท สำหรับรูปแบบที่เป็นเม็ด ผงแคปซูลในปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดขนาดการใช้ Alfalfa สำหรับมนุษย์อย่างแน่นอน ผู้เชี่ยวชาญด้าน สมุนไพร บางคนแนะนำให้บริโภคขนาด 500-1,000 มิลลิกรัมต่อวัน หรือถ้าใช้ในรูปแบบของทิงเจอร์ให้ใช้ 3 ครั้งต่อวัน
สำหรับกรณีใช้ Alfalfa เพื่อการบำบัดภาวะ คลอเลสเตอรอล สูง ขนาดที่แนะนำคือ 250-1000 มิลลิกรัม 2-3 ครั้งต่อวันพร้อมกับการรับประทานอาหารหลัก

โดยผลิตภัณฑ์ Alfalfa นั้นจะต้องมีข้อความว่าปลอดจากสาร Canavanine และส่วนประกอบที่เป็นอันตรายอื่น จึงจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้เป็นธาตุอาหารเสริมได้อย่างปลอดภัย

ข้อควรระวัง

- เนื่องจากปัจจุบัน Alfalfa มีรูปแบบหลากหลายประเภท มีทั้งเป็นแบบผง หน่อ และเมล็ด ซึ่งทั้งหมดนี้จะมีสาร L-cavanine ซึ่งเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดเซลล์เลือดผิดปกติ ม้ามขยายตัวได้ แต่อย่างไรก็ตามปัญหานี้จะหมดไปถ้าได้มีการให้ความร้อนแก่ Alfalfa นั้น

- จากการศึกษาในสัตว์พบว่าการรับเมล็ดหรือหน่อของ Alfalfa เข้าสู่ร่างกายเป็นจำนวนมากจะก่อให้เกิดอาการ systemic lupus erythematosus (SLE) ได้ ซึ่งอาการ SLE นี้อาจเชื่อมโยงเกิดขึ้นกับคนที่รับประทาน Alfalfa ในรูปแบบเม็ดได้ โดยอาการของ SLE คือ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเกิดผิดปกติขึ้นเอง ซึ่งลักษณะของอาการดังกล่าวคือ ข้อต่ออักเสบ ความเสี่ยงที่ไตและอวัยวะอื่นๆ จะเสียหายสูง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากกรดอะมิโน canavanine และปริมาณแคลลอรี่ โปรตีน แลไขมันที่มีอยู่มากในเมล็ด Alfalfa

- ในการใช้อาหารเสริม Alfalfa ไม่ควรใช้ร่วมกันอาหารเสริม Vitamin E เนื่องจาก วิตามิน จะไปขัดขวางการดูดซึม

- มีรายงานความเป็นพิษของหน่อ Alfalfa สดที่ติดเชื้อแบคทีเรียจากเมล็ดก่อนที่จะแตกหน่อ โดยในหน่อที่ยังสดของ Alfalfa อาจมีแบคทีเรียอาศัยอยู่ จึงเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยในคนได้ถ้าได้บริโภคเข้าไป ดังนั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจึงแนะนำเด็กเล็ก และผู้ใหญ่ที่เป็นโรคเรื้อรัง ควรหลีกเหลี่ยงการบริโภคหน่อของ Alfalfa

- Alfalfa อาจก่อให้เกิดอาการปวดท้องและท้องร่วงได้ ถ้ามีอาการดังกล่าวควรหยุดใช้ในทันที โดยสมุนไพรนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง กรณีของหญิงมีครรภ์ หรือเด็กเล็กไม่ควรใช้

L-Carnitine





L-Carnitine : เพื่อรูปร่างและสุขภาพที่ดี

ใน ปัจจุบันเราคงเคยได้พบเห็นโฆษณาเกี่ยวกับเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพหลายยี่ห้อ ที่มีส่วนผสมของสาร L-Carnitine ซึ่งส่วนใหญ่มักสื่อให้ผู้บริโภคได้รับรู้ถึงประโยชน์ของ L-Carnitine ในประเด็นที่ช่วยทำให้หุ่นหรือรูปร่างดีขึ้นโดยเฉพาะผู้หญิง ส่วนผู้ชายก็สื่อถึงรูปร่างสมชายชาตรีที่มีกล้ามเป็นมัด หน้าท้องซิกแพ็ค ดังนั้นเราจึงมักรู้จัก L-Carnitine ในบทบาทของการช่วยลดน้ำหนักทำให้รูปร่างดูดี แต่ในความเป็นจริงนอกเหนือจากประโยชน์ดังกล่าวแล้ว L-Carnitine ยังมีความสำคัญและมีประโยชน์ต่อร่างกายในอีกหลายๆด้าน ดังนั้นเรามาเริ่มทำความรู้จักและเข้าใจสารอาหารชนิดนี้กันให้มากขึ้น

แหล่งที่มาของ L-Carnitine

L-Carnitine เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่ร่างกายผลิตได้เองจากตับและไต โดยสามารถสังเคราะห์จากกรดอะมิโน2ชนิด คือ ไลซีน (Lysine) และ เมไทโอนีน(Methionine) พร้อมกับอาศัยตัวเร่งให้เกิดการสังเคราะห์ (Catalyst)ได้แก่ วิตามิน C, วิตามิน B3 (Niacin),วิตามิน B6 (Pyridoxin) และธาตุเหล็ก

ในอาหารเราจะพบสาร L-Carnitine ได้ในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ เนื้อแดง นม ผลิตภัณฑ์จากนม ผลไม้ ได้แก่ ผลอะโวกาโด(Avocado) ธัญพืช ผักใบเขียว ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วหมัก ดังนั้นผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติเป็นประจำอาจเกิดปัญหาร่างกายขาดแคลน L-Carnitine ได้

หน้าที่หลักของ L-Carnitine

L-Carnitine ที่ ถูกสร้างขึ้นในร่างกายจะถูกนำไปเก็บสะสมไว้ที่กล้ามเนื้อลายเช่น กล้ามเนื้อตามแขน ขา ของเรานั่นเอง นอกจากนี้ยังถูกลำเลียงไปเก็บที่กล้ามเนื้อหัวใจ สมองและสเปิร์ม หน้าที่หลักของ L-Carnitine คือการช่วยลำเลียงโมเลกุลไขมันเล็กๆ เข้าสู่ Mitochondria เพื่อใช้ในเซลล์ต่างๆ ซึ่งเป็นการนำพาไขมันต่างๆไปเปลี่ยนเป็นพลังงานนั่นเอง ดังนั้นหากร่างกายขาดสาร L-Carnitine หรือ มีไม่เพียงพอที่จะนำพาโมเลกุลไขมันไปเผาผลาญจะเกิดปัญหาสุขภาพอันเนื่องมา จากร่างกายมีการสะสมของไขมันมากเกินไป และจะเกิดผลเสียตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นความอ้วน และการสะสมของไขมันตามหลอดเลือดซึ่งอาจ จะส่งผลต่อการยืดหยุ่นของหลอดเลือดและนำมาซึ่งปัญหาไขมันในเลือดสูง และความดันโลหิตสูงตามมาได้ นอกจากนี้ ยังอาจเกิดการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อแขนขา อ่อนเพลีย ซึม และเหนื่อยง่าย

ประโยชน์ของ L-Carnitine

1) การลดน้ำหนัก

ในกลุ่มคนที่มีความต้องการลดน้ำหนักหรือลดไขมันสะสม L-Carnitine เป็นทางเลือกที่ดีของผู้ที่ประสงค์จะลดน้ำหนักด้วยสารจากธรรมชาติ เนื่องจากมีการทดลองนำเอา เซลล์ไขมัน ( Adipose Tissue ) ของคนอ้วนมาทำการวิเคราะห์พบว่าในเนื้อเยื่อดังกล่าวแทบจะไม่มี L-Carnitine เหลืออยู่เลย และมีผลการวิจัยที่ยืนยันว่า L-Carnitine มีส่วนช่วยในการเผาผลาญไขมัน และลดน้ำหนักลงได้อย่างมีนัยสำคัญ ในหมู่ของนักกีฬายกน้ำหนักหรือผู้ชายที่ออกกำลังกายยกน้ำหนัก จะใช้ L-Carnitine เพื่อต้องการเสริมสร้างกล้ามให้ได้รูปชัดเจนขึ้น เนื่องการมีการนำไขมันจากบริเวณดังกล่าวไปใช้เผาผลาญเป็นพลังงงาน

L-Carnitine ซึ่งแม้ว่าจะพบมากในสัตว์เนื้อแดงก็ตาม แต่ปริมาณที่ได้จากการทานใน 1 วัน จะให้กรดอะมิโนดังกล่าวเพียง 50-200 mg.เท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลงไขมันสะสมไปเป็นพลังงาน ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำปริมาณที่เหมาะสมของ L-Carnitine สำหรับการลดน้ำหนักที่ขนาด 500-2,000 mg. ต่อวัน

2) เพิ่มสมรรถภาพในการออกกำลังกาย

L-Carnitine มี ผลช่วยให้ร่างกายมีสมรรถภาพในการออกกำลังกายได้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากพลังงานจากไขมันส่วนหนึ่งจะไปช่วยเสริมสมรรถภาพทางร่างกายให้แข็ง แรงขึ้นได้ สามารถออกกำลังกายได้นานขึ้น มีความทนทานมากขึ้นและป้องกันเนื้อเยื่อไม่ให้เกิดความเสียหายอันเนื่องมา จากปริมาณออกซิเจนในเซลล์ไม่เพียงพอ ซึ่งมีผลงานวิจัยที่สนับสนุนว่า ในการให้นักกีฬาที่มีอาการของโรคร่างกายอ่อนเพลียเรื้อรัง 7 คน รับประทาน L-Carnitine เสริมกับการฝึกซ้อม พบว่านักกีฬาสามารถออกกำลังกายได้นานขึ้นโดยปราศจากอาการอ่อนเพลีย โดย L-Carnitine ช่วยให้นักกีฬาทั้ง 7 คน มีสมรรถภาพทางการวิ่งได้เร็วขึ้นเฉลี่ย 6%

3) ผลดีต่อระบบหลอดเลือดและหัวใจ

L-Carnitine ทำให้ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์(Ttriglycerides)อยู่ในระดับต่ำและช่วยเพิ่มระดับ คอเรสเตอรอลที่มีประโยชน์ (HDL-คอ เรสเตอรอล) ในเลือด ดังนั้นจึงช่วยลดภาวะไขมันอุดตันในเส้นเลือดซึ่งเป็นสาเหตุของโรคความดัน โลหิตสูงตามมา นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันโรคหัวใจโดยมีผลทำให้สุขภาพโดยรวมของหัวใจดีขึ้น และช่วยป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวด้วย

4) เพิ่มสมรรถภาพของระบบสืบพันธุ์ในผู้ชาย

การศึกษาทางการแพทย์พบว่าในการผลิตเชื้ออสุจิ ( sperm ) จำเป็นต้องใช้ L-Carnitine เพื่อการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ของอสุจิ และในการวิจัยพบอีกว่า ในท่อนำอสุจิมีปริมาณของ L-Carnitine เข้มข้นอยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากเชื้ออสุจิต้องการพลังงานในการ oxidation และเปลี่ยนแปลงโครงสร้างไขมันให้อยู่ในรูป Mitochondria ซึ่งมีส่วนสำคัญในการให้พลังงานกับอสุจิเพื่อใช้ในการสร้างส่วนหางเพื่อการ เคลื่อนที่ที่รวดเร็วของอสุจิ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้ L-Carnitine ในปริมาณที่เข้มข้น

จากผลการวิจัยพบว่าการเสริม L-Carnitine สามารถช่วยให้ผู้ป่วยที่เป็นโรค idiopathic asthenospermia หรือเรียกว่า โรคเกี่ยวกับการที่อสุจิเคลื่อนที่ช้าผิดปกติมีอาการดีขึ้นได้ โดยการวิจัยกับผู้ป่วยจำนวน 100 คน ให้รับประทาน L-Carnitine ขนาด 3 กรัม/วัน เป็นเวลา 4 เดือน พบว่าผู้ป่วยทุกคนมีอาการดีขึ้น โดยมีการเคลื่อนที่ของอสุจิเพิ่มขึ้น และยังช่วยในการเพิ่มจำนวนของตัวอสุจิมากขึ้นด้วย และมีผลการวิจัยที่คล้ายคลึงกัน โดยให้ผู้ป่วย asthenospermia รับประทาน L-Carnitine ขนาด 3 กรัม/วัน เช่นเดียวกันเพื่อวัดความเร็วของอสุจิ พบว่ามีผู้ป่วย 37 คน จากทั้งหมด 47 คน ที่มีความเร็วของอสุจิเพิ่มขึ้นและทุกคนมีค่าเฉลี่ยของจำนวนตัวอสุจิเพิ่ม ขึ้นเช่นเดียวกับงานวิจัยแรก

ขนาดที่ใช้และข้อแนะนำในการรับประทานL-Carnitine

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าการรับประทานL-Carnitine เพื่อให้ผลในการลดปริมาณไขมันในร่างกายนั้นจะต้องรับประทานควบคู่กับโปรแกรม การออกกำลังกาย เนื่องจากลักษณะการทำงานของL-Carnitine นั้นเป็นการทำงานตามธรรมชาติ นั่นคือจะทำงานมากขึ้นเมื่อร่างกายมีการออกกำลังกายหรือมีความต้องการ พลังงานอย่างมาก ร่างกายของเราจะดึงเอาL-Carnitineมา ใช้เพื่อช่วยดึงเอาไขมันที่สะสมอยู่ตามแหล่ง ๆ ของร่างกายให้ถูกย่อยสลายออกเป็นกรดไขมันอิสระในเลือด แล้วนำเข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปย่อยสลายหรือเผาผลาญเป็นพลังงานตามความต้องการ ของร่างกายอีกต่อหนึ่ง
ปริมาณที่แนะนำให้รับประทานคือ วันละ 500 ถึง 2,000 มิลลิกรัม ในนักกีฬาหรือคนที่รับประทาน L-Carnitineเสริม สำหรับการเล่นกีฬา เพื่อช่วยในการสลายไขมันและช่วยทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อดีขึ้น ก็ควรต้องหยุดใช้เพื่อให้กล้ามเนื้อได้พักบ้างอย่างน้อยเดือนละ 1 อาทิตย์ โดยไม่แนะนำให้รับประทานติดต่อกันเกินกว่า 6 เดือน เนื่องจากอาจจะทำให้ร่างกายของเราขาดกรดอะมิโนชนิดอื่น ๆ อีก 19 ชนิดได้ แต่ในผู้ที่มีความจำเป็นต้องรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานานให้หยุดพักทุก 6 เดือน แล้วในระหว่างที่หยุดพักควรรับประทานกรดอะมิโนชนิดอื่น ๆ ให้ครบทั้ง 20 ชนิดร่วมด้วย และการรับประทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ นม หรือไข่ ก็พบว่าสามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้เช่นกัน

ผลข้างเคียงและข้อควรระวังในการรับประทาน L-Carnitine

เนื่องจาก L-Carnitineเป็นสารที่ได้จากธรรมชาติ ดังนั้นยังไม่มีการวิจัยใดที่พบว่าการรับประทาน L-Carnitineจะ ทำให้เกิดอาการข้างเคียงหรือเกิดความเป็นพิษ โดยเฉพาะหากรับประทานตามขนาดที่แนะนำ แต่ก็มีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าถ้ากินเข้าไปมากขนาด 5 กรัม ต่อวัน หรือมากกว่าอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้ ส่วนอาการข้างเคียงอื่น ๆ ที่อาจพบได้ เช่น มีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น มีกลิ่นตัวและเกิดอาการผื่นแดง สำหรับคนที่มีอาการแพ้ต่อ อาหารโปรตีน เช่น ไข่ นมหรือข้าวสาลีไม่ควรกินผลิตภัณฑ์ที่เสริม แอล-คาร์นิทีนเป็นอันขาด รวมถึงคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับและไต เด็กที่มีอายุยังไม่ถึง 2 ขวบและสตรีมีครรภ์ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้ ถ้าจำเป็นก็ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์

เส้นใยอาหาร (Fiber)





จากสภาพสังคมเมือง ที่กลายเป็นครอบครัวเดี่ยว พ่อ แม่ ต้องทำงานเพื่อให้มีรายได้เพียงพอ หรืออยู่รอดภายใต้สภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ แม่บ้านที่เคยดูแลอาหารการกินของครอบครัว ต้องหันมาเป็นแม่บ้านถุงพลาสติค ชีวิตที่เร่งรีบ อาหารจานด่วน การกินอาหารแบบ สังคมตะวันตกจึงเกิดขึ้น ไม่แปลกใจเลยว่าโรคที่เกิดขึ้นบ่อยๆในสังคมตะวันตก กลายมาเป็นปัญหาร้ายของสังคมบ้านเราได้ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่จึงเกิดขึ้น เรื่องนี้เป็นภัยร้ายที่คุกคามชีวิต แต่เป็นโรคที่ป้องกัน ได้ ถ้าคุณเห็นความสำคัญ มีความตระหนักและสามารถปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ได้

ดังที่กล่าวมาแล้วว่า โรคเหล่านี้สามารถป้องกันได้ โดยการเปลี่ยนวิถีชีวิตโดยเฉพาะการกิน และการขับถ่าย โดยหันมากินอาหารที่มีเส้นใย ผัก ผลไม้ เมล็ดธัญพืช เหมือนกับครั้งสมัยปู่ ย่า ตา ทวดของเรา และลดการกินเนื้อสัตว์ ก็จะช่วยชลอความเสื่อมของร่างกายได้ เช่นลดไขมัน ในเลือด ป้องกันท้องผูก เบาหวาน ความดันเลือดสูง เป็นต้น จึงขอเชิญชวนท่านมาศึกษาคุณประโยชน์ของเส้นใยอาหาร

เส้นใยอาหารคืออะไร

เส้นใยหรือไฟเบอร์ อาหาร ส่วนใหญ่เราจะได้จากส่วนโครงสร้างของพืช เช่น กิ่ง ก้าน เมล็ด เป็นส่วนที่ร่างกายไม่สามารถย่อยสลายได้มี อีกชื่อหนึ่งว่าเซลลูโลส ซึ่งมีโครงสร้างประกอบไปด้วยโมเลกุลน้ำตาลมาต่อกันอย่างซับซ้อน เส้นใยอาหารจะไม่โดนย่อยด้วยกรดในกระเพาะ อาหารและเอนไซม์ในลำไส้เล็ก มันจึงเป็นกากที่จะไปเบียดบังพื้นที่ในระบบทางเดินอาหาร เวลารับประทานเข้าไปจึงรู้สึกอิ่ม

อีกทั้งมันเป็นสารที่ไม่ให้พลังงาน เมื่อรับประทานเข้าไปจึงไม่ก่อให้เกิดพลังงานส่วนเกิน แต่ในทางตรงข้ามมันกลับไปช่วยขัดขวางการ ดูดซึมไขมันและ คลอเลสเทอรอลอีกด้วย นอกจากนี้มันยังช่วยป้องกันหรือลดความเสี่ยงจากโรค มะเร็ง ลดอัตราเสี่ยงจากไขมันอุดตันหลอดเลือด ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และเนื่องจากมันช่วยในเรื่องระบบการขับถ่ายให้ดีขึ้นนั่นเองมันจึงช่วยบรรเทาอาการ ท้องผูก ริดสีดวงทวาร ด้วย เส้นใยอาหารแบ่งได้ 2 ชนิดคือ

1.เส้นใยชนิดที่ไม่ละลายน้ำ เป็นเส้นใยพวกเซลลูโลส เฮมิเซลลูโลส และลิกนิน ส่วนมากได้จากเมล็ดพืช เช่น รำข้าว รำข้าวสาร สารเส้นใยชนิด นี้จะอุ้มน้ำ และไม่ถูกย่อย เวลากินเข้าไปจะผ่าน ไปตามลำไส้เฉยๆ มีประโยชน์ป้องกันมะเร็งและปกป้องลำไส้ให้มีสุขภาพดี

2.เส้นใยชนิดที่ละลายน้ำได้ เป็นสารเส้นใยที่ปะปนอยู่กับส่วนที่เป็นแป้งของพืชจึงละลายน้ำได้ เวลาละลายน้ำจะเห็นเป็นลักษณะเมือกๆ เป็น เส้นใยพวก เปกติน กัม และมิวซิเลจ พบมากในผลไม้ ถั่ว ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ สามารถลดไขมัน ในเส้นเลือด และลดน้ำตาลในเลือด ในกรณี ที่ เป็นเบาหวาน

ประโยชน์ของเส้นใยต่อร่างกาย

ผลต่อ คลอเลสเทอรอล และ โรคหัวใจ

จากหลายๆการศึกษาวิจัยพบว่าเส้นใย ชนิดที่ละลายน้ำสามารถป้องกันไม่ให้เกิดการพอกพูนของตะกรันไขมันในหลอดเลือด โดยการดูดซับ ปริมาณคลอเลสเทอรอลลง เมื่อไขมันในเลือดต่ำ โอกาสที่จะเกิดอาการตีบของหลอดเลือดหัวใจก็มีน้อยลงได้โดยเส้นใย แต่ยังไม่เพียงพอที่จะ รับประทานแทนยารักษาได้ และยังไม่ทราบถึงสาเหตุที่แน่ชัดเช่นกัน อย่างไรก็ตามเส้นใยที่ไม่ละลายน้ำจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิด โรคหัวใจ

ผลต่อโรค เบาหวาน

สาเหตุหลักๆของการเกิดเบาหวาน คือเกิดจากกรรมพันธุ์ และการบริโภคน้ำตาลมากเป็นเวลานาน ซึ่งพบว่าการกินอาหารที่เป็นคาร์โบไฮเดรตเชิง เดี่ยวจะทำให้ร่างกายได้รับน้ำตาลเข้าไปล้นเกิน ระดับน้ำตาลในเลือดจะเพิ่มสูงขึ้นทันที ความต้องการอินซูลินจึงเพิ่มมากขึ้น แต่ในขณะที่กินอาหาร คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (อาหารที่มีเส้นใยสูงโดยเฉพาะเส้นใยที่ละลายน้ำได้) การย่อย การดูดซึมต้องใช้เวลานานกว่ามาก จะ ทำให้ความทนทานต่อ อาหารคาร์โบไฮเดรต ดีขึ้น ทำให้ร่างกายสามารถผลิตอินซูลินขึ้นมารับพอดี ระดับน้ำตาลในเลือดจึงต่ำลง และสามารถลดปริมาณยาที่ใช้ลง พบว่ามี ผู้ป่วยเบาหวาน 2 ใน 3 สามารถลดอินซูลินชนิดฉีดลงด้วยการกินอาหารที่มีเส้นใยสูง และยังค้นพบอีกว่าคนที่รับประทานเส้นใยมากๆ จะช่วยลด โอกาสการเป็น เบาหวาน

ผลต่ออาการท้องผูก-มะเร็งลำไส้

การรับประทานเส้นใยชนิดที่ไม่ละลายน้ำ ช่วยให้การเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหารดีขึ้น ส่งผลให้ร่างกายมีการขับถ่ายดีขึ้น ช่วยบรรเทา อาการท้องผูก อาหารที่มีเส้นใยสูงจะทำให้รู้สึกอิ่มเร็ว และอิ่มทนกว่าอาหารที่มีเส้นใยต่ำเพราะการย่อยใช้เวลานานกว่า และการดูดซึมก็เป็นไปอย่างช้าๆ เส้นใยช่วยเพิ่มปริมาณของอุจจาระจึงกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่ทำงานดีขึ้น การกินอาหารโปรตีนสูงและการกินไขมันสัตว์ ซึ่งเป็นอาหารที่มีเส้นใยน้อย จะทำให้มีสารก่อมะเร็งตกค้างอยู่ในลำไส้เป็นเวลานาน กากอาหารจะถูกเก็บกักนาน มีโอกาสดูดซับสารพิษจากของเสียเข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้อาหาร ที่มีไขมันมาก เกลือของน้ำดีในกากอาหารก็ เพิ่มมากขึ้น ทำให้แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ย่อยเกลือน้ำดีให้กลายเป็นสารก่อมะเร็ง การกินอาหารที่มีเส้นใยสูง จะไม่เกิดท้องผูก ลำไส้จะขับกากอาหารออกนอกร่างกายเร็วขึ้น และช่วยเจือจางสารก่อมะเร็งในอุจจาระลง ช่วยลดโอกาสในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

ลดความอ้วน

เมื่อเรารับประทานเส้นใยอาหารซึ่งเป็นสารที่ไม่ให้พลังงานเข้าไปในร่างกาย มันจะเข้าไปแย่งพื้นที่ในระบบทางเดินอาหาร ลดปริมาณแคลอรี่ ที่ร่างกายดูดซึมจากอาหารส่งผลให้เรารู้สึกอิ่มได้เร็วและอิ่มได้นาน นอกจากนี้เส้นใยยังไปแย่งพื้นที่ในระบบทางเดินอาหาร ทำให้ลดความอยากอาหาร และรับประทานอาหารได้น้อยลง หากใช้ร่วมกับการควบคุมชนิดและปริมาณอาหาร และออกกำลังกายร่วมด้วยจะยิ่งให้ผลดีในการ ลดน้ำหนัก ถ้าเรา สามารถลดพลังงานที่จะได้รับจากอาหารได้จึงส่งผลให้ น้ำหนักลด และผลที่ตามมาคือลดอัตราการเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในหลอดเลือด และโรคหัวใจ

มะเร็งเต้านม

เป็นที่ยอมรับว่ามะเร็งเต้านมเกี่ยวข้องโดยตรงกับการกินอาหาร กล่าวคือเมื่อสารพิษจากลำไส้ใหญ่ถูกดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือด เนื้อเยื่อของเต้านม จะเก็บกักเอาสารพิษไว้และกลายเป็นมะเร็งในที่สุด การกินอาหารเส้นใยสูงและเร่งการขับอุจจาระออกนอกร่างกายให้เร็วกว่าเดิมจึงเป็นทางที่จะป้องกัน มะเร็งเต้านมวิธีหนึ่ง การกินไขมันมากเกินไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับระดับฮอร์โมน ทำให้เจ็บเต้านมหรือเป็นก้อนขึ้นมา

แหล่งอาหารที่จะได้รับเส้นใย

เราสามารถได้สารเส้นใยอาหารได้จากพวกธัญพืช เช่น ข้าวซ้อมมือ ลูกเดือย ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ผลไม้ทั้งผล (ไม่ใช่น้ำผลไม้) เช่น แอบเปิล ผลไม้ ประเภทเบอรี่ ผลส้มแขก เมล็ดแมงลัก ถั่วประเภทนัทส์ ถั่วเมล็ดแห้ง ผักชะอม ดอกกุยฉ่าย คะน้า แครอท มะเขือพวง เห็ดหูหนู เป็นต้น

กินเพื่อสุขภาพ ควรกินอย่างไร

จากคำแนะนำของดร.แคทเทอรีน อี โวทกีเกี่ยวกับอาหารเพื่อสุขภาพ พอสรุปได้ดังนี้

1. กินคาร์โบไฮเดรทเชิงซ้อน โดนกินข้าวกล้องวันละ 5 - 12 ส่วน (1 ส่วนเท่ากับ 1 ทัพพีพูนๆ เท่ากับ 100 กรัม) หรือกินขนมปังโฮล์วีท ( 1 แผ่น เท่ากับ 1 ส่วน) เผือก มัน ข้าวโพด

2. กินผักสดและผลไม้สดวันละ 5 ส่วน (1 ส่วนเท่ากับผัก 1 จาน หรือเท่ากับแอบเปิล 1 ลูก หรือเท่ากับผลไม้ลูกใหญ่ที่ปอกแล้วเท่ากับ แอบเปิล 1 ลูก หรือเท่ากับน้ำผลไม้คั้นสด 200 มล. )

3. กินไขมันวันละเพียง 20 % ของแคลอรีทั้งหมด

4. กินเนื้อสัตว์วันละ 100 กรัม แนะนำให้กินเนื้อปลา

5. ปริมาณอาหารที่กินควรแต่พอควร ขึ้นอยู่กับรูปร่างและกิจกรรมในแต่ละวัน

6. แคลเซียมควรได้รับวันละ 400 มิลลิกรัม

7. ไม่กินเค็ม ควรได้เกลือวันละเพียง 6 กรัม

8. ควรเลี่ยงบุหรี่ เหล้า กาแฟ ชาและกลุ่มอาหารขยะทั้งหมด

9. ไม่ควรกินวิตามินและอาหารเสริมเกินความจำเป็น

หมายเหตุ ในรายที่เป็นโรคขาดสารอาหารหรือ วิตามิน หรืออยู่ในระหว่างรับประทานยาบางชนิด ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนรับประทาน

การกินอาหารที่มีเส้นใย มีผลโดยตรงต่อสุขภาพของลำไส้ใหญ่ อาหารที่ปราศจากเส้นใยทำให้ท้องผูก อุจจาระของคนเราจึงสามารถเป็นตัว บ่งชี้ ภาวะสุขภาพได้ อุจจาระ คือกากอาหารที่ถูกถ่ายทิ้ง มีประมาณ 100 กรัมต่อวัน แต่ทั้งนี้ขึ้นกับปริมาณและชนิดของอาหารด้วย อาหารที่มีเส้นใยอาหารมาก จะทำให้มีอุจจาระมาก อุจจาระประกอบด้วยน้ำประมาณ 75 %และของแข็ง 25% ซึ่งได้แก่ CELLULOSE และกากใยที่ย่อยไม่ได้ เกลือ น้ำดี และน้ำย่อย ที่หลงเหลือออกมาบ้างเล็กน้อย แคลเซียม ฟอสเฟต มูก เซลล์ที่ลอกหลุดและแบคทีเรีย ดังนั้นแม้จะไม่ได้รับประทานอาหารทางปากเลย ก็ยังมีอุจจาระ อุจจาระ ที่ดีจะมีลักษณะไม่แข็ง ไม่เหลว สีเหลืองปนน้ำตาล ไม่เป็นก้อนกลมแข็ง แต่เป็นลักษณะเรียวยาว

อย่างไรก็ตาม การกินอาหารที่มีเส้นใย นอกจากจะช่วยรักษาสุขภาพและป้องกันโรค แต่การรักษาสุขภาพให้ดีต้องประกอบไปด้วยการออกกำลังกายและ วิธีธรรมชาติบำบัด ได้แก่ การล้างพิษ การฝึกจิต - สมาธิให้สงบ เพื่อให้ระบบภูมิต้านทาน (Immune system) ทำงานได้ดีขึ้น จึงต้องเปลี่ยนแนวคิดหลัก สุขภาพไทย ที่มีหลักง่ายๆ ชิวีตเรียบๆแบบพอเพียง ดังเช่นอาจารย์บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล ได้เสนอไว้12 ประการ ดังนี้

1. ส่งเสริมวิถีชีวิตอันเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทย ด้วยการพึ่งตนเองเป็นหลัก ทำงานขยันขันแข็ง ใช้จ่ายอย่างประหยัดมัธยัสถ์

2. ส่งเสริมวิถีชีวิตแบบสังคมชนบท เกษตรกรรมธรรมชาติแบบผสมผสาน ด้วยการสร้างสังคมระดับหมู่บ้าน ตำบลที่อยู่ใกล้ธรรมชาติ มีระบบการผลิต และหมุนเวียนบริโภคของตนเองและพึ่งตนเองได้

3. กินอย่างไทย ปรุงอาหารกินเองในบ้าน ลดละการกินอาหารตะวันตกและอาหารจีน อย่ากินอาหารจนล้นเกิน กินแต่พออิ่ม เลิกสารปรุงแต่งที่ไม่มีคุณค่า ทางอาหาร เช่น ผงชูรส

4. กินข้าวกล้อง หรือข้าวซ้อมมือ แทนการกินข้าวขาว หรืออาหารทำจากแป้งขัดขาว ไม่กินน้ำตาลฟอกขาว ขนมหวาน น้ำอัดลม ไม่ใช้น้ำตาลปรุงอาหาร จนมากเกินควร

5. ลดการกินไขมันชนิดที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง ได้แก่ ไขมันจากสัตว์ ใช้น้ำมันพืชแทน

6. ลดการกินเนื้อสัตว์ กินสัตว์น้ำปลอดภัยกว่า

7. กินผักสด และผลไม้สดให้มาก เลือกผักเกษตรธรรมชาติ

8. ไม่กินอาหารขยะ เช่น บะหมี่ซอง ขนมกรุบกรอบ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์

9. ทารกต้องกินนมแม่ รณรงค์ใช้นมถั่วเหลือง รับอาหารจากอาหารพื้นถิ่น

10. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ

11. รู้จักคลายเครียด ฝึกสมาธิ ขัดเกลาความคิดจิตใจ

12. รักษาสุขภาพด้วยตนเอง ใช้ยาเท่าที่จำเป็น พร้อมปรับอาหาร เปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อรักษาโรค


สุดท้ายขอฝากไว้ว่า ท่านที่เป็นโรคก็มีสุขภาพดีได้ หรือท่านที่ไม่เป็นโรค ก็สุขภาพไม่ดีได้ การเปลี่ยนแปลงวิถีการกิน จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการมีสุขภาพดี และอย่ารอช้าเริ่มปฏิบัติเสียตั้งแต่วันนี้เลยดีไหม ?

แคลเซียม







แคลเซียม คืออะไร
หากจะให้บอกถึงเกลือแร่สักตัวหนึ่งที่มีประโยชน์มากๆ ต่อร่างกายหนึ่งในนั้นจะต้องมี แคลเซียม เรารู้จัก แคลเซียม มานานในแง่ของการช่วยให้กระดูกแข็งแรง ไม่เพียงเท่านั้นเมื่อไม่นานนี้มีงานวิจัยตัวหนึ่งได้พบว่า แคลเซียม สามารถช่วยต่อต้านได้อย่างดีต่อ ความดันโลหิตสูง อาการหัวใจกำเริบ อาการปวดก่อนมีประจำเดือน และ มะเร็งลำไส้ แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายที่คนส่วนใหญ่รับประทาน แคลเซียม น้อยกว่าครึ่งของที่ควรจะได้รับต่อวัน

สำหรับคนที่ไม่สามารถรับประทานอาหารที่มี แคลเซียม สูงได้ ก็สามารถทดแทนง่ายๆ ได้ด้วยอาหารเสริม แคลเซียม ที่มีจำหน่ายอยู่ทั่วไปและราคาไม่แพง โดยมักจะอยู่ในรูปของ แคลเซียมคาร์บอเนต แคลเซียมกลูโคเนต แคลเซียมซิเตรด แคลเซียมซิเตรดมาเลต แคลเซียมแลคเตต และแคลเซียมฟอสเฟต และปริมาณที่ร่างกายจะได้รับ แคลเซียม จากอาหารเสริมเหล่านี้ก็จะขึ้นกับว่าในแต่ละแบบจะให้ แคลเซียม แก่ร่างกายเท่าไร เช่น แคลเซียม คาร์บอเนตจะให้ปริมาณแร่ธาตุ แคลเซียม ประมาณ 40% แคลเซียมกลูโคเนตจะให้ปริมาณแร่ธาตุ แคลเซียม ประมาณ 9% ทั้งนี้ยังขึ้นกับการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายด้วย มีการค้นพบว่าแร่ธาตุ แคลเซียม ที่ได้จากแคลเซียมซิเตรดจะถูกดูดซึมได้ดีกว่าที่ได้จากคอร์บอเนต

“ แคลเซียม ” เป็นธาตุที่พบมากที่สุดในทุกส่วนของร่างกาย โดยในร่างกายคน 50 กิโลกรัม จะมี แคลเซียม อยู่ประมาณ 1 กิโลกรัม ซึ่งเกือบทั้งหมดจะอยู่ในกระดูกและฟัน ดังนั้นในเวลากล่าวถึงแคลเซียม จึงมักจะนึกถึงเฉพาะกระดูกเท่านั้น แต่ที่จริงแล้วยังมี แคลเซียม ส่วนอื่นที่อยู่ในเซลล์ที่ไม่ใช่กระดูกอีกประมาณร้อยละ 1 สำหรับหน้าที่ๆ สำคัญของ แคลเซียม ก็คือ การสร้างกระดูก ซึ่งกระดูกทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของร่างกาย รักษารูปร่างและลักษณะของร่างกายให้สวยงาม และยังเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อเป็นเกราะป้องกันอวัยวะภายในต่างๆ ของร่างกายไม่ให้ได้รับความกระทบกระเทือน อย่างไรก็ตาม แคลเซียม มิใช่เป็นเพียงตัวเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงเท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่สำคัญในการทำงานของเซลล์ต่างๆ ภายในร่างกายอีกด้วย ได้แก่ การช่วยการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดที่ไหลออกจากบาดแผลเกิดแข็งตัวหยุดไหลได้ นอกจากนี้ แคลเซียม ยังเกี่ยวข้องกับการทำงานของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท ช่วยให้การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจปกติและการส่งสัญญานประสาทที่ถูกต้อง รักษาความสมดุลของกรดด่างในเลือดและความดันโลหิตให้ปกติ

แคลเซียม เข้าสู่ร่างกายอย่างไร
สำหรับการทำงานของ แคลเซียม จะเริ่มจาก เมื่อร่างกายได้รับ แคลเซียม จากอาหาร ก็จะถูกกรดในกระเพาะทำให้ แคลเซียม แตกตัวได้ดีขึ้นและถูกดูดซึมได้ง่ายขึ้นจากบริเวณลำไส้ส่วนต้น โดยอาศัย Calbindin-D ซึ่งปกติแล้วร่างกายจะดูดซึม แคลเซียม ได้ประมาณร้อยละ 20-40 หลังจากนั้น แคลเซียม จะเข้าสู่เลือดผ่านไปตามระบบไหลเวียนโลหิตแล้วไปสู่อวัยวะต่างๆ ส่วนใหญ่จะเข้าสู่กระดูก นอกนั้นเข้าสู่เซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ที่เหลือจะถูกขับออกทางปัสสาวะ

โดยปกติทั่วไปแม้ กระดูก จะไม่ยืดตัวให้เห็น แต่จะมี แคลเซียม ผ่านเข้าออกจากกระดูกถึงวันละประมาณ 700 mg ซึ่งแม้ว่าเกลือแร่ที่ติดอยู่ในกระดูกดูเหมือนจะติดอยู่อย่างถาวร แต่อันที่จริงแล้ว แคลเซียม ในกระดูกจะถูกดึงออกพร้อมกับขบวนการละลายกระดูก (resorption) และเสริมเข้าไปพร้อมกับการสร้างกระดูกใหม่ (formation) อยู่ตลอดเวลา ทั้งนี้ขึ้นกับภาวะโภชนาการ ปริมาณ แคลเซียม ความสมดุลของฮอร์โมนและวัย

โดยทั่วไปร่างกายจะพยายามอย่างเต็มที่ในการที่จะรักษาระดับ แคลเซียม ในเลือดให้ปกติเสมอเพื่อให้อวัยวะต่างๆ ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างปกติเปรียบให้ง่ายก็เสมือนว่า ระดับ แคลเซียม ที่ปกติก็คือ จำนวนเงินที่ติดกระเป๋าอยู่สำหรับใช้จ่ายในแต่ละวัน โดย แคลเซียม ส่วนที่ถูกขับออกทางปัสสาวะและ แคลเซียม ที่ใช้เพื่อการซ่อมแซมกระดูกเปรียบเสมือนค่าใช้จ่ายประจำวัน แคลเซียม ในกระดูกเสมือนเงินฝากในธนาคาร แคลเซียม รับจากอาหารเสมือนรายได้ประจำวัน ถ้ารายรับมากกว่ารายจ่าย อาจมีเหลือเก็บในธนาคารซึ่งเปรียบเสมือนเป็นการสะสม แคลเซียม ในกระดูก ถ้ารายได้น้อยกว่ารายจ่ายก็ต้องถอนจากธนาคารเพื่อนำไปใช้จ่ายก็จะทำให้เกิดการขาดดุล ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้อยู่เป็นประจำเงินในธนาคารก็จะร่อยหรอไป นั่นก็เปรียบได้กับการที่ร่างกายได้รับ แคลเซียม ไม่พอเพียงต่อความพยายามรักษาระดับ แคลเซียม ให้ปกติ จึงต้องละลาย แคลเซียม จากกระดูกมาเพิ่มให้กับเลือด ทำให้ แคลเซียม ในกระดูกค่อยๆ ลดลง สุดท้าย แคลเซียม หรือเงินที่ติดกระเป๋าอยู่ก็ลดลงจนไม่พอใช้นั่นเอง ซึ่งจากการศึกษาพบว่าการสะสม แคลเซียม ของร่างกายมนุษย์นั้นเริ่มตั้งแต่ยังเป็นทารกในครรภ์มารดา โดยในแต่ละวัยร่างกายสามารถสะสมปริมาณ แคลเซียม ในระดับที่แตกต่างกัน ดังนี้

► เด็กแรกเกิด - 9 ขวบ มีความสามรถในการสะสม แคลเซียม ได้ 100 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน

► เด็กอายุ 10 ขวบ มีความสามารถในการสะสม แคลเซียม ได้ 100-150 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน

► ช่วงวัยรุ่น มีความสามารถในการสะสม แคลเซียม ได้ 200-400 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน

► ชายและหญิงอายุ 18 ปี มีความสามารถในการสะสม แคลเซียม ได้ 50-100 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน

► ผู้ใหญ่อายุ 30 ปี มีความสามารถในการสะสม แคลเซียม ได้ 0 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว/วัน ซึ่งหมายความว่า หลังจากอายุ 30 ปีไปแล้ว ร่างกายจะไม่สะสม แคลเซียม อีกต่อไป จึงต้องมีการเติม แคลเซียม ให้ร่างกายเพื่อรักษาระดับ แคลเซียม ในกระดูก

ด้วยคุณสมบัติการทำงานของ แคลเซียม ดังกล่าว นับได้ว่ าแคลเซียม มีประโยชน์ต่อร่างกายของมนุษย์อย่างยิ่ง ซึ่งในแต่ละสภาวะของมนุษย์นั้น แคลเซียม ได้ให้ประโยชน์ในลักษณะต่างๆ กัน ดังนี้

ความต้องการของคนแต่ละวัย

หญิงตั้งครรภ์
สำหรับหญิงมีครรภ์แล้ว แคลเซียม นับได้ว่าเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อสภาวะการตั้งครรภ์อย่างมาก โดยหญิงตั้งครรภ์จำเป็นต้องได้รับ แคลเซียม มากกว่าคนธรรมดาเป็นพิเศษ เนื่องจากจะต้องถ่ายทอดแร่ธาตุดังกล่าวสู่ลูกเพื่อการพัฒนาโครงสร้างร่างกายของทารกในครรภ์ ดังนั้นหญิงมีครรภ์จึงมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะขาดแคลน แคลเซียม ถ้าไม่สามารถบริโภคอาหารที่ให้ปริมาณ แคลเซียม ได้เพียงพอต่อทั้งแม่และลูกได้ บ่อยครั้งจึงพบว่าหญิงมีครรภ์จะมีอาการกล้ามเนื้อปวดเกร็งในบริเวณต่างๆ ของร่างกาย ที่พบบ่อยคือ บริเวณน่อง โดยจะเกิดขึ้นทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ออกกำลังกายหรือเดินมาก อันเป็นผลมากจากการขาด แคลเซียม นั่นเอง จากการศึกษาพบว่าหญิงตั้งครรภ์เป็นตระคริวถึงร้อยละ 26.8 และส่วนใหญ่เริ่มมีอาการตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ 25 สัปดาห์ และอาการดีขึ้นได้อย่างชัดเจนหากได้รับการเสริม แคลเซียม ดังนั้น แคลเซียม จึงเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นยิ่งต่อสภาวะการตั้งครรภ์ เพราะนอกจากจะช่วยให้พัฒนาการเติบโตของทารกในครรภ์เป็นปกติแล้ว ยังมีส่วนช่วยรักษาเสถียรสภาพความหนาแน่นกระดูกในแม่ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเกี่ยวกระดูกหรือโรค กระดูกพรุน ในภายหลังได้

วัยเด็ก
เด็กๆ ต้องการ แคลเซียม มากกว่าวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ เพื่อนำมาเสริมสร้างความแข็งแรงให้แก่กระดูกและฟัน และส่วนอื่นๆ เพื่อใช้เป็นโครงสร้างของร่างกาย โดยการสะสม แคลเซียม ในเด็กที่หัดพูดจะช้าแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในวัยหนุ่มสาว ซึ่งจากการศึกษาพบว่าถ้าปริมาณ แคลเซียม ในร่างกายเด็กต่ำ จะทำให้ขบวนการสะสมเกลือแร่ในกระดูกและความหนาแน่นของกระดูกต่ำ เป็นผลให้เกิดโรคกระดูกอ่อนหรือโรคกระดูกค่อมงอได้ โดยเด็กจะมีอาการเหงื่อออกบริเวณศีรษะมากเกินไป การนั่ง คลาน เดิน ทำได้ช้า นอนไม่หลับ กระดูกขาของเด็กที่ได้รับ แคลเซียม ไม่เพียงพอเมื่อรับน้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้นตามอายุเป็นผลให้ขาโก่ง กระดูกซี่โครงโค้งงอ กระดูกเชิงกรานมีรูปร่างผิดปกติซึ่งอาการนี้เมื่อเกิดขึ้นกับเด็กแล้วไม่สามารถรักษาให้หายคืนปกติได้ นอกจากจะทำการผ่าตัดใหญ่เท่านั้น สิ่งที่สำคัญของช่วงอายุนี้คือ การพัฒนารูปแบบการบริโภคให้สอดคล้องกับระดับ แคลเซียม ที่ร่างกายต้องการให้เพียงพอ เพื่อพัฒนาความหนาแน่นของกระดูก ให้การเติบโตของเด็กเป็นปกติ อีกทั้งยังเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคเกี่ยวกับกระดูกในช่วงต่อไปของชีวิตได้

วัยหนุ่มสาว
จากการศึกษาวิจัยแสดงว่า ช่วยอายุ 11-24 ปี เป็นช่วงที่ร่างกายดำเนินขบวนการก่อรูปกระดูก โดยถ้าร่างกายได้รับ แคลเซียม ในปริมาณที่ต่ำกว่าร่างกายต้องการ จะก่อให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลังซึ่งถ้าขาดอย่างร้ายแรงจะก่อให้เกิดโรคกระดูกอ่อน มีอาการเจ็บกระดูก เจ็บกล้ามเนื้อ และเมื่อประสบกับการกระดูกหัก กระดูกจะสมานให้เหมือนเดิมได้ช้า สิ่งสำคัญคือ การรักษาระดับการบริโภคอาหารให้สอดคล้องกับระดับ แคลเซียม ที่ต้องการเพื่อป้องกันโรคเกี่ยวกับกระดูก ถ้าจะต้องมีการสูญเสียไปในภายหลังของช่วงชีวิต โดยถ้าเราได้รับ แคลเซียม ตั้งแต่อยู่ในวัยหนุ่มสาวหรือกลางคนอย่างสม่ำเสมอและพอเพียง อายุการสึกหรือผุกร่อนตามธรรมชาติก็จะยืดออกไปได้อีกนานกว่าคนที่อยู่ในวัยเดียวกันที่บริโภค แคลเซียม ไม่เพียงพอในวัยเด็กและวัยหนุ่มสาว

วัยสูงอายุ
คนเราปกติจะมีโอกาสสูญเสีย แคลเซียม จากกระดูกเมื่อเรามีอายุมากขึ้น เพราะว่าเมื่ออายุเกินกว่า 30 ปีแล้ว ร่างกายจะไม่สะสม แคลเซียม อีกต่อไป โอกาสเผชิญกับโรคเกี่ยวกับกระดูกจะสูงถ้าร่างกายไม่ได้รับ แคลเซียม อย่างเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหญิงวัยหมดประจำเดือนซึ่งการศึกษาพบว่าร่างกายจะสูญเสียกระดูกในช่วงประมาณ 5-6 ปีแรกหลังจากหมดประจำเดือน เนื่องจากการลดลงของฮอร์โมน oestrogens และประสิทธิภาพในการสร้าง Vitamin D ก็ลดลงตามวัยที่เพิ่มมากขึ้น จึงมีแนวโน้มจะเป็นโรค กระดูกพรุน สูง โดยเป็นโรคที่เป็นผลมาจากการขาดแคลน แคลเซียม ซึ่งบางครั้งอาจทำให้กระดูกหักได้เนื่องจากแบกรับน้ำหนักตัวไม่ไหว และในกรณีที่ร้ายแรงจะก่อผลเสียต่อกระดูกสันหลัง กระดูกต้นขา และกระดูกแขนท่อนนอกได้อีกด้วย โดยโรคดังกล่าวจะไม่แสดงอาการใดๆ ให้ทราบเลยจนกว่าจะมีอาการกระดูกหัก ดังนั้นคนในวัยสูงอายุที่มีการเสริม แคลเซียม ให้กับกระดูกอย่างเพียงพอ จะช่วยยับยั้งการสูญเสียกระดูกในช่วงนี้ได้ การเผชิญกับการผุกร่อนของกระดูกจะน้อยลง ความเสี่ยงที่ต้องเผชิญกับโรคที่เกี่ยวกับกระดูกเมื่อย่างเข้าสู่วัยทองก็น้อยลงหรืออาจไม่เกิดขึ้นเลยก็ได้จะเห็นได้ว่า แคลเซียม มีความจำเป็นสำหรับคนทุกเพศทุกวัยด้วยกันทั้งนั้

Lutein



Lutein คืออะไร
Lutein เป็นสารสกัดจากธรรมชาติ จัดอยู่ในกลุ่มสารที่มีสีในตระกูลแคโรทีนอยด์เป็นสารที่พบบริเวณตา ลูทีนจะฉาบบนผิวของเรตินา (Retina) บริเวณจุดรับภาพของลูกตา (macula) ซึ่งเป็ตำแหน่งที่สำคัญที่สุดในจอประสาทตา เพราะเป็นจุดที่รูปภาพและแสงสว่าง ส่วนมากจะมาตกบริเวณนี้ ซึ่งเป็นส่วนที่จอตารับภาพได้ชัดเจนที่สุด

Lutein ร่างกายได้รับจากที่ไหน
Lutein พบได้ในผลไม้บางชนิด ผักสดใบเขียว ข้าวโพด และไข่แดง

หน้าที่ของ Lutein
1. Lutein ทำหน้าที่ช่วยให้มองภาพได้คมชัด และเห็นรายละเอียดของภาพดีขึ้น
2. Lutein มีรายงานถึงผลการวิจัยที่ชัดเจนมากมาย สามรถลดอุบัติการณ์โรคต้อกระจกในผู้สูงอายุได้จริง
3. Lutein ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคจุดรับภาพเสื่อม (Age - Related Mascular Degeneration หรือ AMD)
4. Lutein ลดอุบัติการณ์โรคมะเร็งเต้านมในสตรีกลุ่มที่มีความเสี่ยง
5. Lutein ลดกลไกการเกิด Plague ในผนักเส้นเลือด ทำให้ลดอัตราการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด และโรคหลอดเลือดตีบในสมอง

ประโยชน์ของ Lutein
1. ช่วยให้ตาแข็งแรง ป้องกันประสาทตาเสื่อม
2. เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับผนังหลอดเลือดใหญ่ และเส้นเลือดฝอย
3. เป็นสารที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง
4. ช่วยเสริมสร้างการมองเห็นโดยช่วยป้องกันการเสื่อมของ Mascular ที่จุดเล็กๆ ตรงกลางของที่รับแสงในตา(Retina) อันเป็นส่วนสำคัญของ Main pigment (สี) ในฉากรับแสงของตาจะช่วยป้องกันมิให้แสงอาทิตย์ทำลายเรตินา
5. ป้องกันโรคจุดรับภาพเสื่อม หรือจอประสาทตาเสื่อม AMD (Age - Related Mascular Degeneration)
6. ช่วยป้องกันและลดอาการของโรคต้อกระจก (Cataracts)
7. ช่วยป้องกันโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง
8. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ (Free radical) ที่ทำลายเซลล์ตา ทำให้เซลล์แข็งแรง ช่วยชะลอความเสื่อมของตา
9. ช่วยบำรุงระบบการไหลเวียนของเลือด และเส้นเลือดฝอยที่เลี้ยงตา
10. เพิ่มสมรรถภาพในการมองเห็นได้ดีในที่มืด
11. ช่วยแก้สายตาที่ไม่ดีและโรคเกี่ยวกับตา ใช้ร่วมกับ Bilberry เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาได้ดีขึ้น


ใครบ้างที่ควรรับประทาน Lutein & Bilberry
1. ผู้สูงอายุ
2. ผู้ที่เริ่มมีความเสื่อมของสายตา เห็นภาพไม่ชัดเจน ตาพร่ามัว
3. ผู้ที่ใช้สายตามาก ผู้ที่ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ผู้ที่โดนแฟลชถ่ายรูปบ่อยๆ และจากการอ่านหนังสือ
4. ผู้ที่ต้องการบำรุงสายตา เพื่อป้องกันจอประสาทตาเสื่อม
5. ผู้ที่ต้องการให้ดวงตาสดสวยและสดใส เป็นประกายอยู่เสมอ

Q10


Q10 คืออะไร
Q10 มีชื่อเรียกกันอยู่มากมายไม่ว่าจะเป็น Co-enzyme Q10 หรือ CoQ10 หรือ Ubiquinone หรือ Ubiquinole หรือ Ubidecarenone หรือ Ubiquitous หรือ Coenzyme quinone มีชื่อเรียกทางเคมีว่า “2 ,3-dimethoxy-5-methyl-6-decaprenyl benzoquinone.”

จากการศึกษารายละเอียดพบว่า Q10 เป็นสารที่ร่างกายสามารถผลิตได้เองโดยธรรมชาติและมีความจำเป็นต่อร่างกาย Q10 เป็นสารประกอบคล้ายวิตามินที่มีคุณสมบัติในการละลายในไขมัน (Fat-Soluble Vitamin-like Substance) พบในเซลล์ทุกเซลล์ที่มีชีวิตในร่างกายโดยจะอยู่ที่ส่วนเยื่อหุ้ม (Membrane) ของไมโตคอนเดรีย ซึ่งไมโตคอนเดรีย (Mitochondrial) นี้ทำหน้าที่ในการผลิตพลังงานให้กับเซลล์ โดยพลังงานดังกล่าวจะอยู่ในรูปของ ATP (Adenosine Triphosphate) ซึ่งเป็นพลังงานพื้นฐานของเซลล์ Q10 ถูกพบมากในอวัยวะที่ต้องการพลังงานสูง ซึ่งจะมีจำนวนไมโตคอนเดรีย (Mitochondrial) มาก เช่น หัวใจ ตับ กล้ามเนื้อ สมอง ส่วนอวัยวะอื่นๆ ก็พบ Q10 เช่นกันแต่พบค่อนข้างน้อยเนื่องจากอวัยวะดังกล่าวต้องการพลังงานน้อยจึงมีจำนวนไมโตคอนเดรีย (Mitochondrial) น้อยตามไปด้วย

Q10 ที่ผลิตในร่างกายนี้ สังเคราะห์มาจากกรดอะมิโนที่ชื่อ ไทโรซีน (Tyrosine) และฟีนีลอะลานิน (Phenylalanine) โดยกรดอะมิโนทั้ง 2 ตัวนี้ จะสร้างส่วนวงแหวนควิโนน (Quinone Ring) ส่วนสายยาว (side chain) สร้างมาจากอะซีติลโคเอ (Acetyl CoA)โดยอาศัยกระบวนการในร่างกายหลายขั้นตอนร่วมกันกับวิตามิน 7 ชนิด คือ วิตามินบี 2 (Riboflavin) วิตามินบี 3 (Niacinamide) วิตามินบี 6 กรดโฟลิก (Folic Acid) วิตามินบี 12 วิตามินซี และกรดแพนโททีนิก (Pantothenic Acid)

► ไทโรซีน (Tyrosine) ช่วยให้เซลล์แก่ช้าและควบคุมศูนย์กลางความรู้สึกหิวในไฮโปแธลลามัสส่วนใต้ของสมอง

► ฟีนีลอะลานิน (Phenylalanine) ช่วยการทำงานของต่อมธัยรอยด์ให้กระตุ้นการเผาผลาญอาหารของร่างกาย เป็นฮอร์โมนที่ประกอบด้วยไอโอดีนทำให้รู้สึกสดชื่นตื่นตัว อารมณ์ดี ลดความซึมเศร้า ช่วยให้ความจำดีขึ้น ช่วยไม่ให้ผมหงอก และผิวแห้งตกกระ รวมทั้งป้องกันผิวหนังอักเสบจากการแพ้แสงแดด

มีรายงานเกี่ยวกับ Q10 ว่ามีประสิทธิภาพสูงในการรักษาโรค กระตุ้นภูมิคุ้มกัน และสิ่งสำคัญคือมีผลต่อการทำงานของระบบหัวใจ พบว่า Q10 ช่วยเพิ่มประสิทธิการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจอย่างชัดเจน จึงทำให้มีการจ่าย Q10 ให้กับผู้ป่วยโรคหัวใจอย่างมากมาย

Q10 ทำงานอย่างไร
Q10 ที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นนี้จะทำหน้าที่เป็นเอนไซม์หลัก (Key Enzyme) ในวงจรเครป หรือวงจรกรดซิตริก (Kreb ’s or Citric Acid Cycle) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ทำการเปลี่ยนแปลงอาหารพวกคาร์โบไอเดรตและไขมันให้อยู่ในรูปของพลังงานที่ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ โดยหน้าที่ของเอนไซม์ทั่วไป ก็คือจะเข้าไปช่วยเร่งปฏิกิริยาภายในร่างกาย โดยตัวของเอนไซม์เองไม่ถูกทำลาย หรือถูกเปลี่ยนแปลงเมื่อปฏิกิริยาดังกล่าวสิ้นสุดลง เนื่องจาก Q10 มีหน้าที่สำคัญในกระบวนการสร้างพลังงานให้แก่ร่างกาย ดังนั้นเมื่อระดับของ Q10 มีการเปลี่ยนแปลงไปก็จะส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย

โดยสรุป Q10 ทำหน้าที่เกี่ยวกับการให้พลังงานแก่เซล ดังนั้นเซลที่ยังมีชีวิตก็จะมีความต้องการพลังงานเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ก็จะต้องการ Q10 เช่นกัน อีกทั้งเซลที่ต้องการพลังงานสูงก็จะต้องการ Q10 มากกว่าเซลที่ต้องการพลังงานน้อย จึงเป็นเหตุที่เราจะพบ Q10 มากในเซลหัวใจ ดังนั้นหากขาด Q10 ก็จะมีผลให้การทำงานในเซลผิดปกติ ส่งผลให้เซลตายได้

ประโยชน์ของ Q10
มีการกล่าวเกินจริงเกี่ยวกับ Q10 มากมายทั้งๆ ที่ยังอยู่ในขั้นการทดลองและยังไมได้สรุปผลออกมา เช่น หาว่าช่วยชลออาการโรคพาร์กินสัน เพิ่มแข็งแรงของผู้ป่วยโรคเอดส์ ควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพิ่มพละกำลังในพวกนักกีฬา เป็นต้น

แต่ในทางกลับกัน ก็มีหลักฐานยืนยันอย่างชัดเจนที่แสดงให้เห็นว่า Q10 ช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้ดียิ่งขึ้น ถ้าหากขาด Q10 กล้ามเนื้อหัวใจจะอ่อนแรงลงและทำงานได้ไม่ดี ทำให้มีการใช้ Q10 เกี่ยวกับการช่วยบำรุงหัวใจอย่างกว้างขวาง และในญี่ปุ่น 10%ของคนญี่ปุ่นมีการรับประทาน Q10 เป็นประจำ

1.โรคหัวใจและหลอดเลือด
ในผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับปริมาณ คลอเลสเตอรอล ในเลือดสูงเกินไป จนทำให้ไปอุดตามหลอดเลือดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเส้นเลือดไปเลี้ยงหัวใจ ทำให้หัวใจทำงานผิดปกติเนื่องจากเลือดไปเลี้ยงไม่พอ หรือกล้ามเนื้อหัวใจตายไปบางส่วน ซึ่ง Q10 ช่วยแก้ปัญหาได้โดยไปยับยั้งไม่ให้ คลอเลสเตอรอล จับเป็นก้อนอุดตันเส้นเลือด

ใช้รักษา โรคหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวใจล้มเหลวเนื่องจากเส้นเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ (congestive heart failure) ทั้งนี้ผู้ป่วย โรคหัวใจ ดังกล่าวจะมีแน้วโน้มที่จะสัมพันธ์กับการขาด Q10 ดังนั้นเมื่อผู้ป่วย โรคหัวใจ ได้รับ Q10 จึงทำให้หัวใจทำงานได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งด้วยคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระคล้ายกับวิตามินอี Q10 จะทำหน้าที่ช่วยยับยั้งอุดตันของเส้นเลือดของ คลอเลสเตอรอล

เคยมีการศึกษาในผู้ป่วย โรคหัวใจ เนื่องจากเส้นเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ (congestive heart failure) มากกว่า 2,500 คนแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม โดยให้ผู้ป่วยโรคหัวใจกลุ่มหนึ่งได้รับ Q10 อีกกลุ่มหนึ่งให้ยาหลอกเพื่อดูว่า Q10 มีประโยชน์กับผู้ป่วยจริงหรือไม่ เป็นเวลา 12 เดือน ผลปรากฎว่า 80% มีอาการดีขึ้นอย่างชัดเจน อาการบวมของข้อเท้าลดลง อาการหายใจถี่ๆ ลดลง การนอนหลับดีขึ้น เมื่อผู้ป่วยที่ได้รับ Q10 ทุกวันๆ ละ 100 มิลลิกรัม ในขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอกกลับมีอาการแย่ลงต้องเข้าในโรงพยาบาลมากกว่าผู้ที่ได้รับ Q10 ทั้งนี้อัตราการเสียชีวิตก็ไม่แตกต่างกัน

ไม่ใช่ทุกการศึกษาที่แสดงถึงประโยชน์ของ Q10 เมื่อไม่นานนี้มีการศึกษาในผู้ป่วย โรคหัวใจ ดังกล่าวระดับปานกลางถึงรุนแเรงจำนวน 46 คน ให้รับประทาน Q10 (ไม่มีใครได้รับประทานยาหลอด) เป็นเวลา 6 เดือนพบว่าอาการต่างๆ ไม่ได้ดีขึ้น อย่างไรก็ตามยังคงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลของ Q10 กับประสิทธิภาพในการลดอัตราการเสียชีวิตจาก โรคหัวใจ

ในการรักษาอาการปวดร้าวบริเวณหน้าอก (angina) และอาการหัวใจเต้นผิดปกติ พบว่าอาการปวดร้าวบริเวณหน้าอดจะลดลงเมื่อผู้ป่วยได้รับ Q10 อีกทั้งผู้ป่วยที่มีปัญหามีอาการทำงานและการเต้นของหัวใจผิดปกติก็พบว่า Q10 มีส่วนช่วยในอาการดังกล่าวเช่นกัน

นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งปัจจุบันประชาชนประมาณ 1 ใน 3 มีปัญหาเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และโรคดังกล่าวถือว่าเป็นภัยเงียบต่อกลุ่มคนดังกล่าว และก็เชื่อกันว่าผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมักมีอาการขาด Q10 การรับประทาน Q10 อาจจะช่วยให้อาการความดันโลหิตสูงดีขึ้น และยังช่วยอาการแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นอีกด้วย

จะเห็นได้ว่า Q10 มีประโยชน์กับผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับ โรคหัวใจ และหลอดเลือดอย่างชัดเจน

2.โรคอัลไซเมอร์
โรค อัลไซเมอร์ เป็นโรคของการเสื่อมทางสติปัญญาที่พบได้เมื่อวัยมากขึ้น อาการของโรคนี้ คือ ความจำเสื่อม หลงลืมตัวเองและคนในครอบครัว ซึมเศร้า สับสน นอนไม่หลับ ไม่สามารถควบคุมการทำงานของร่างกายได้ สาเหตุเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น การได้รับบาดเจ็บ เลือดคลั่งในศรีษะ และความเสียหายที่เกิดจากการทำลายโดยอนุมูลอิสระ (free radical) การรับ Q10 เข้าไปในร่างกายสามารถช่วยป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้เนื่องจากใน Q10 มี ฟีนีลอะลานิน (Phenylalanine) ช่วยการทำงานของต่อมไทรอยด์ให้กระตุ้นการเผาผลาญอาหารของร่างกาย เป็นฮอร์โมนที่ประกอบด้วย ไอโอดีนทำให้รู้สึกสดชื่นตื่นตัว อารมณ์ดี ลดความซึมเศร้า ช่วยให้ความจำดีขึ้น

และเนื่องจากคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระของ Q10 ที่สามารถช่วยปกป้องการทำลายของอนุมูลอิสระในสมอง และโรคชรา จะเห็นได้ว่าหมอบางคนแนะนำให้กับผู้ป่วยที่อายุเกินกว่า 50 ปีขึ้นไปให้รับประทาน Q10 เพื่อที่จะช่วยอาการขี้หลงขี้ลืม และช่วยชลอการทำลายของเซลสมองอันเนื่องมาจากโรค อัลไซเมอร์ และโรคชรา แต่อาการจะมากหรือน้อยก็ขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละคนด้วย

3. ลดริ้วรอย ชะลอการเสื่อมของเซลล์ผิวหนัง
Q10 เป็นสารต้านออกซิเดชั่น (Antioxidant) และเป็นสารธรรมชาติที่ร่างกายมนุษย์สามารถสังเคราะห์ขึ้นได้เอง ดังนั้นจึงนำ Q10 มาใช้เป็นเครื่องสำอางสำหรับลดการเกิดริ้วรอย ชะลอการเสื่อมของเซลล์ผิวหนังจากแสงแดด (Photoaging)กล่าวคือ ผิวหนังจะมีหน้าที่ในการป้องกันสารพิษ เชื้อโรค และรังสีอุลตราไวโอเลต (Ultraviolet) จากแสงอาทิตย์ โดยรังสีอุลตราไวโอเลต (UV) มี 2 ชนิด คือ UVA และ UVB แต่ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดริ้วรอยจะเป็นรังสี UVA โดย UVA สามารถทะลุผ่านชั้นผิวหนังถึงชั้นหนังแท้ และจะเริ่มต้นในการผลิตอนุมูลอิสระ (Free Radical) ซึ่งอนุมูลอิสระดังกล่าวนี้ผลิตจากกระบวนการออกซิเดชั่น (Oxidation) และอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นนี้ก็จะทำอันตรายต่อไขมัน โปรตีน และสารพันธุกรรม (DNA) ในเซลล์ผิวหนัง ทำให้เกิดริ้วรอย หมองคล้ำได้ แต่ร่างกายก็จะมีกระบวนการป้องกันอันตรายจากอนุมูลอิสระดังกล่าวโดยกระบวนการทางธรรมชาติ กล่าวคือ ที่ผิวหนังจะมีสารที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านออกซิเดชั่น (Antioxidant) เช่น วิตามินอี วิตามินซี โดยสารที่มีฤทธิ์ (Antioxidant) ดังกล่าวจะป้องกันไม่ให้เกิดกระบวนการออกซิเดชั่นที่จะทำให้เกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งจะทำอันตรายต่อผิวหนัง มีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับผลของ Q10 ต่อการลดริ้วรอยว่าสามารถทำให้ความลึกของริ้วรอยลดลง ซึ่งหมายถึง ทำให้ริ้วรอยนั้นตื้นขึ้นได้ โดยให้กลุ่มทดลองใช้ครีมที่มีส่วนผสมของ Q10 อยู่ 0.3% ทารอบดวงตาเป็นเวลานาน 6 เดือน พบว่า ความลึกของริ้วรอยลดลงถึง 27% เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมซึ่งไม่ได้ใช้ครีมที่มีส่วนผสมของ Q10 อยู่ ดังนั้น Q10 จึงมีส่วนช่วยลดริ้วรอยและชะลอการเสื่อมของเซลล์ผิวหนังได้เป็นอย่างดี

4.โรคเกี่ยวกับเหงือก
โรคเหงือก ใช้เรียกโรคที่เกิดขึ้นกับอวัยวะที่อยู่โดยรอบฟันหรือที่เรียกว่า อวัยวะปริทันต์ ซึ่งทำหน้าที่ในการยึดและพยุงฟันให้คงอยู่ในช่องปาก โรคเหงือกที่เป็นปัญหาและพบได้บ่อยๆ เกิดจากคราบจุลินทรีย์ที่ถูกปล่อยให้สะสมอยู่บนตัวฟัน คราบจุลินทรีย์นี้ประกอบด้วย เชื้อแบคทีเรียหลายชนิดและสารพิษต่างๆ ที่แบคทีเรียสร้างขึ้นมา ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อต่างๆ ขึ้น ในระยะแรกของการอักเสบอาจจะเกิดเฉพาะที่ของเหงือก ทำให้เหงือกเปลี่ยนสีจากสีชมพูซีดเป็นสีแดง มีเลือดออกจากเหงือกเวลาแปรงฟัน เหงือกที่มีลักษณะติดกันจะมีลักษณะบวมฉุ ไม่ยิดติดกับตัวฟัน ทำให้เกิดกลิ่นปาก ในกรณีที่ปล่อยให้การอักเสบดำเนินต่อไปเรื่อยๆ โดยไม่รักษาต่อไป จะสังเกตว่ามีหนองออกมาจากช่องระหว่างเหงือกกับฟัน หรืออาจเป็นฝีที่เหงือก เหงือกจะแยกตัวออกจากฟันและมีการละลายของกระดูกเบ้ารากฟัน ถ้านานๆเข้าฟันจะโยกห่างและรวนผิดที่ หรืออาจจะหลุดออกมาได้ การรับ Q10 เข้าไปในร่างกายจะช่วยลดและบรรเทาอาการเหงือกบวม ฟันโยก (Periodontitis) ได้

5.อื่นๆ
เนื่องคุณสมบัติของการมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของ Q10 จึงทำให้เชื่อว่า Q10 สามารถช่วยป้องกันและรักษาโรค มะเร็ง ได้ แต่ก็เป็นการศึกษาเล็กๆ หลายๆ ชิ้นเท่านั้นที่แสดงประโยชน์ของ Q10 ในเรื่องดังกล่าว และไม่เพียงเรื่องมะเร็ง ยังมีการศึกษาบางชิ้นที่แสดงว่า Q10 ให้ผลดีต่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย อย่างไรก็ดียังคงต้องการการศึกษามากกว่านี้เพื่อยืนยันผลดังกล่าว

อีกทั้งในผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระดับคลอเลสเตอรอลสูงในกระแสเลือด และได้รับยากลุ่ม Statin drugs ผู้ป่วยดังกล่าวควรจะถูกแนะนำให้รับประทาน Q10 เพราะยากลุ่มดังกล่าวส่งผลต่อการยับยั้งสร้าง Q10 ในร่างกาย

แหล่งของ Q10
Q10 นอกจากสังเคราะห์ขึ้นจากร่างกายมนุษย์แล้ว ในสัตว์และพืชบางชนิดก็เป็นแหล่งอุดมของ Q10 เช่นกัน มีในน้ำมันปลา ปลาทะเลลึก เช่น ปลาซาดีน อาหารทะเล เครื่องในสัตว์ส่วน หัวใจ ตับ ไตของสัตว์ เนื้อสัตว์ รำข้าว ผลิตภัณฑ์จากถั่ว น้ำมันถั่วเหลือง บรอคคอลี่ ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล ปลาแซลมอน เป็นต้น

จากการศึกษาพบว่า Q10 เป็นสารอาหารคล้ายวิตามิน ที่ทำหน้าที่เป็นเอนไซม์ในร่างกาย มีปฏิกิริยาทางชีวเคมี เปรียบเสมือนกุญแจสำคัญในการสร้างพลังงานในทุกเซลล์ของร่างกาย ถ้าระดับของ Q10 ลดลง ร่างกายจะไม่สามารถแปลงพลังงานจากอาหารให้อยู่ในสภาพที่ร่างกายจะนำไปใช้ได้เลย ทำให้เกิดการเจ็บป่วย ร่างกายอ่อนเพลีย ระบบภูมิคุ้มกันเสื่อมสภาพตามมาได้

ขนาดรับประทาน
ขนาดที่แนะนำคือ 30 มิลลิกรัมต่อวัน แต่สำหรับคนที่มีอาการโรคชรา หรือโรคอื่นๆ ควรรับประทานในขนาดมากขึ้นคือ 50–100 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อผลในการรักษาโรค

ข้อแนะนำในการรับประทาน

►เนื่องจาก Q10 เป็นสารอาหารที่ละลายได้ดีในไขมันได้ ดังนั้นมันจะถูกดูดซึมได้ดีหากรับประทานพร้อมกับอาหารที่มีไขมัน เช่น ถั่ว เนย หรือจะเห็นได้ว่าแค๊ปซูลที่บรรจุ Q10 มักจะเป็นแค๊ปซูลที่ทำมาจากไขมัน

►เก็บในที่ปราศจากแสง และที่เย็นแต่ห้ามแช่แข็ง

►ควรรับประทานติดต่อกันนานกว่า 2 เดือนขึ้นไป เนื่องจากต้องใช้เวลากว่าจะเริ่มเห็นผลของ Q10

►เนื่องจากเป็นสารอาหารที่มีราคาค่อนข้างมีราคาสูงควรซื้อจากแหล่งที่มีราคาถูก

น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส






น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรสคืออะไร
พริมโรส (Primrose) มีถิ่นกำเนิดอยู่ในลาตินอเมริกา เป็นพืชในเขตหนาว ลำต้นสูง มีดอกสีเหลืองกลีบบาง ลักษณะของดอกจะเป็นก้านและดอกจะมีลักษณะแผ่กว้าง ในฝักของดอกพริมโรส (Primrose) จะมีเมล็ดสีน้ำตาล และมีน้ำมันชนิดหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส ออยส์ (Evening Primrose Oil) อยู่ในเมล็ด ซึ่งน้ำมันดังกล่าวนี้มีสารประกอบสำคัญ คือ กรดไขมันจำเป็นไม่อิ่มตัว (Essential Fatty Acid) ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ ชนิดโอเมก้า 6 ได้แก่ กรดไลโนเลอิก (Linoleic - LA) และกรดแกมมาไลโนเลนิก (Gamma Linolenic acid – GLA) ซึ่งทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบหลักของเยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane) มีคุณสมบัติในการป้องกันการสูญเสียน้ำของเซลล์ผิวหนัง ผิวจึงคงความชุ่มชื่น สดใส เปล่งปลั่ง และมีน้ำมีนวล

LA ใน น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส จะถูกร่างกายเปลี่ยนเป็น GLA โดยเอนไซม์ 6-Desaturase ซึ่ง GLA นี้เป็นสารตั้งต้นในกระบวนการสร้างพรอสตาแกลนดิน 1 (Prostaglandin E1 – PGE1) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทช่วยให้ร่างกายเกิดความสบาย ตลอดจนป้องกันโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ อาทิ ช่วยลดการอักเสบ ป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด ความดันดลหิตสูง บรรเทาอาการแทรกซ้อนจากโรค เบาหวาน และที่สำคัญที่สุด คือ รักษาอาการผิดปกติก่อนมีประจำเดือน

ประโยชน์ของน้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส
จากการที่ น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส อุดมไปด้วย GLA ทำให้มันมีคุณสมบัติที่ดีในการรักษา โดยจะเปลี่ยนรูปเป็น พรอสตาแกลนดิน ที่มีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมนในการช่วยให้หน้าที่ต่างๆ ในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น นอกจากนี้มันยังมีคุณสมบัติในการต้านอาการอักเสบที่ดีด้วย

น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรสต่ออาการปวดประจำเดือนและอาการก่อนและหลังประจำเดือน
อาการที่เกิดขึ้นร่วมกันกับการมีประจำเดือน อันได้แก่ อาการปวดศรีษะ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย วิงเวียนศรีษะ ปวดหลัง รวมถึงอาการคัดหน้าอก เป็นอาการที่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้หญิงเป็นอย่างมาก เป็นผลจากการบริโภคอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวมากเกินไป ทำให้ไขมันถูกเปลี่ยนเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนเพิ่มมากขึ้นในเนื้อเยื่อมดลูก ส่งผลให้มดลูกบีบตัวมากกว่าปกติ ทำให้อาการปวดท้องในขณะที่มีประจำเดือนเกิดขึ้น นอกจากนี้กรดไขมันอิ่มตัวที่มากเกินไปจะทำให้ฮอร์โมนโปรแลคตินเพิ่มมากขึ้น ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้จะทำให้เกิดอาการคัดหน้าอก และทำให้เลือดออกมาก เป็นผลให้เพิ่มการบีบตัวของเลือดในมดลูก ทำให้มีอาการปวดประจำเดือนมากด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ฮอร์โมนโปรแลคตินยังทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ปวดศรีษะ ปวดหลัง ปวดเมื่อยรวมถึงอาการอ่อนเพลียขณะมีประจำเดือน

การบริโภค น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส ซึ่งมีกรดแกมมา ไลโนเลนิก (GLA) สามารถช่วยลดอาการปวดประจำเดือน อาการก่อนและหลังประจำเดือน อาการคัดหน้าอก ลงได้ โดยต้องบริโภคทุกวัน ไม่ใช่บริโภคเฉพาะในขณะที่เป็นประจำเดือน เพราะร่างกายต้องการเวลาในการสร้างพรอสตาแกลนดิน 1(Prostaglandin E1 – PGE1) เพื่อให้ช่วยลดอาการปวดให้ลดลง

-น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส กับ โรคเยื่อบุมดลูกอยู่ผิดที่
ตามปกติ เยื่อบุมดลูกอยู่ในโพรงของมดลูกเป็นเนื้อเยื่อที่ตอบสนองต่อระดับของฮอร์โมนเพศเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน เมื่อถึงรอบเดือนเยื่อบุมดลูกจะหนาตัวขึ้น เพราะถูกฮอร์โมนเพศกระตุ้นแต่พอฮอร์โมนเพศลดระดับลง เยื่อบุมดลูกจะสลายตัวออกจากโพรงมดลูก หลุดออกมาเป็นประจำเดือนเมี่อออกมาหมดแล้ว และมีฮอร์โมนเพศมากระตุ้นอีก เยื่อบุมดลูกจะหนาขึ้นเหมือนเดิม และเมื่อระดับฮอร์โมนเพศลดลงก็จะออกมาเป็นประจำเดือนของเดือนถัดไป

แต่ในบางครั้งเยื่อบุมดลูกเกิดอยู่ผิดที่ กล่าวคือ ไม่อยู่ในโพรงมดลูก แต่กลับไปอยู่ที่ รังไข่บ้าง ช่องเชิงกรานบ้าง ดังนั้น เมื่อฮอร์โมนเพศมีระดับสูง เยื่อบุมดลูกที่อยู่ผิดที่จะหนาขึ้น และเมื่อระดับฮอร์โมนเพศลดลงก็จะออกมาเป็นเลือด แต่เลือดที่ออกมานี้จะระบายออกมาทางช่องคลอดเช่นเยื่อบุมดลูกที่อยู่ในโพรงมดลูกไม่ได้ เลือดที่ออกมาจะถูกขังอยู่เป็นถุงน้ำหรือซีสต์ ในรังไข่บ้าง ช่องเชิงกรานบ้าง ซึ่งถ้าก้อนมีขนาดใหญ่ก็อาจจะต้องทำการผ่าตัด ดังนั้นกรดไขมันจำเป็น ซึ่งก็คือ กรดแกมมา ไลโนเลนิก (GLA) ที่มีอยู่ในน้ำมันอีฟนิ่งพริมโรสจึงมีบทบาทต่อโรคเยื่อบุมดลูกอยู่ผิดที่เป็นอย่างมาก กล่าวคือ กรดแกมมา ไลโนเลนิก ถูกเอาไปสร้างพรอสตาแกลนดิน 1(Prostaglandin E1 – PGE1) สามารถบรรเทาอาการอักเสบของก้อนเนื้อได้ ทำให้อาการปวดลดลง

น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรสกับโรคไขข้ออักเสบ
ไขข้ออาจมีโอกาสอักเสบได้ เนื่องจากการใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อมือ ข้อนิ้ว ที่ทำงานหนัก แต่การซ่อมสร้างต้องกระทำอย่างรวดเร็ว เมื่อมีอายุมากขึ้น ความสามารถในการซ่อมสร้างอาการอักเสบของข้อต่างๆของร่างกายนั้นลดน้อยลง จึงเกิดอาการอักเสบและมีอาการปวดข้อในผู้สูงอายุได้ นอกจากนี้ยังมีโรคไขข้ออักเสบรูมาตอยด์ ซึ่งเป็นโรคไขข้ออักเสบหลายๆข้อทั่วร่างกาย เกิดจากภูมิต้านทานไวเกินและมาทำร้ายเนื้อเยื่อของไขข้อและเนื้อเยื่อรอบข้อ ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไขข้ออักเสบรูมาตอยด์นี้ จะมีระดับพรอสตาแกลนดิน 1(Prostaglandin E1– PGE1) ที่รักษาอาการอักเสบต่ำมาก แต่มีระดับพรอสตาแกลนดิน 2 ที่ก่อให้เกิดอาการอักเสบและจ็บปวดมากกว่าปกติ

โดยปกติ การรักษาอาการอักเสบของข้อเป็นหน้าที่ของพรอสตาแกลนดิน 1 (Prostaglandin E1 – PGE1) ซึ่งมีอยู่ใน น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส จะทำหน้าที่คอยบรรเทาอาการอักเสบและอาการบวมรอบข้อลงได้

จากการศึกษาทดลองใช้ในผู้ป่วยเป็นเวลานาน 6 เดือน พบว่าผู้ป่วยที่รับประทาน น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส จะให้ผลลดอาการปวดและอักเสบตามไขข้อได้ดีกว่ายาหลอกอย่างชัดเจน

น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรสกับโรคเบาหวาน
น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส สามารถช่วยป้องกันอาการเซลประสาทถูกทำลายจากโรค เบาหวาน จากการวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่า GLA ใน อีฟนิ่งพริมโรส สามารถช่วยป้องกันอาการดังกล่าวได้ และในบางรายยังสามารถทำให้เซลประสาทคืนกลับมาเหมือนเดิมได้ด้วย อาการปลายประสาทอักเสบ (neuropathy) นั้นจะพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรค เบาหวาน จากการศึกษาที่นานนับปี มีผลวิจัยออกมาว่าอาการชาตามปลายประสาท อาการเจ็บปวดแปลบๆ และอาการสูญเสียความรู้สึกในผู้ป่วย เบาหวาน จะลดน้อยลงจากชัดเจนในรายที่รับประทาน น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส กว่าผู้ที่ไม่ได้รับประทาน

น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรสกับปัญหาโรคอื่นๆ
-น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส กับผื่นแพ้และกลากน้ำนม
ผู้ที่มีอาการของผื่นแพ้ โดยเฉพาะในเด็กที่เป็นกลากน้ำนม ร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนกรดไขมันโอเมก้า 6 ชนิดกรดไลโนเลอิก (Linoleic - LA) ให้เป็นกรดแกมมา ไลโนเลนิก (GLA) ได้ หรือถ้าเปลี่ยนได้ก็เปลี่ยนได้น้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เนื่องจากขาดเอนไซม์ในปฏิกิริยาชีวเคมีบางชนิด

หากเด็กจำเป็นต้องกินนมวัวและทำให้เกิดกลากน้ำนม เนื่องจากในนมวัวมีกรดไขมันชนิด กรดไลโนเลอิก (Linoleic - LA) ซึ่งเด็กส่วนหนึ่งไม่มีเอนไซม์บางตัว จึงไม่สามารถเปลี่ยนกรดไขมันดังกล่าวให้เป็นพรอสตาแกลนดิน 1(Prostaglandin E1 – PGE1) แบบนมแม่ได้ จึงเกิดอาการแพ้ขึ้น ดังนั้น น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส จึงช่วยลดอาการแพ้นี้ได้ โดยการทาที่ผิวหนังเพื่อให้น้ำมันซึมผ่านเข้าไป

-น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส กับผิวพรรณ
ช่วยบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื่น ปรับสภาพผิวที่แห้งกร้านให้กลับดูนุ่มนวลสดใส ลดริ้วรอยและความหมองคล้ำของผิวพรรณ ช่วยลดการเกิดสิวอุดตัน ตลอดจนช่วยรักษาอาการผิดปกติทางผิวหนัง เช่น ผิวหนังแห้ง รวมถึงอาการผมร่วง มีรังแค และเล็บเปราะได้

นอกจากนี้ยังช่วยรักษาอาการโรคเรื้อนกวาง (eczema) ซึ่งทำให้ผู้ป่วยโรคนี้มีอาการลดลงสามารถปริมาณการใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ลงไป

-น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส กับ โรคความดันโลหิตสูง
โรคของหลอดเลือดอันเกิดจากไขมันในเลือดสูง ทำให้หลอดเลือดแข็งตัวและเสียความยืดหยุ่น แรงดันเลือดในหลอดเลือดเพิ่มสูงขึ้นจากความแข็งของเลือด อันเป็นสาเหตุสำคัญของโรคความดันโลหิตสูง การที่หลอดเลือดเพิ่มแรงต้านทานในการไหลของหลอดเลือดจะส่งผลกระทบต่อหัวใจ กล่าวคือ จะต้องออกแรงบีบไล่เลือดไปตามหลอดเลือดที่แข็งตัวแรงกว่าเดิม เป็นเหตุให้ความดันโลหิตเพิ่มตาม

กรดไขมันจำเป็น คือ กรดแกมมา ไลโนเลนิก (GLA) ใน น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรสสามารถลดความดันโลหิตลงได้

-น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส กับ โรคหัวใจ
โรคหัวใจ เกิดจากไขมันในเลือดสูง ทำให้เกิดการอุดตันในหลอดเลือด หลอดเลือดมีขนาดรูแคบลง ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอและเกิดอาการแน่นหน้าอก ปวดในหน้าอก จนกระทั่งหัวใจวายได้ใน น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส มีกรดโอเมก้า 6 ช่วยป้องกันไม่ให้เลือดจับตัวกันเป็นก้อน ป้องกันไม่ให้เกิดตะกอนของไขมันในหลอดเลือด และป้องกันโรคหัวใจได้

-น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส กับ โรคไต
ผู้ป่วยที่ป่วยเป็น โรคไต บางรายที่กินยาบางตัว หรือได้รับสารพิษบางตัว ซึ่งสารเคมีดังกล่าว มักจะไปยับยั้งการสร้างฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน 1 (Prostaglandin E1 – PGE1) แล้วทำให้ไตเสียตามมา การบริโภคกรดไขมันจำเป็นโอเมก้า 6 ชนิด GLA จะสามารถถนอมรักษาไตให้คงสภาพปกติได้นานเนื่องจากการบริโภคน้ำมันอีฟนิ่งพริมโรสเข้าไป จะทำให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน 1 (Prostaglandin E1 – PGE1) ได้มากขึ้น ส่งผลให้สามารถแก้ไขความเสียหายของไตที่เกิดขึ้นให้กลับคืนสู่ปกติได้

-น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส กับ โรคจิตใจ
โรคจิตเภท (Schizophrenia) เกิดขึ้น เนื่องจากมีความผิดปกติทางชีวเคมีในสมองของผู้ป่วย ทำให้เกิดอาการทางสมอง คือ ควบคุมตนเองไม่ได้ ซึมเศร้า ทำอะไรไม่รู้ตัว ประสาทหลอน ซึ่งอาการดังกล่าวนักวิทยาศาสตร์คาดว่า อาจเป็นเพราะร่างการขาดกรดไขมันจำเป็น ชนิด กรดแกมมา ไลโนเลนิก (GLA) และมีฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน 1 (Prostaglandin E1 – PGE1) ไม่เพียงพอรวมทั้งยังมีกรดไขมันจำเป็นชนิด กรดไลโนเลอิก (Linoleic - LA) น้อยกว่าปกติ ดังนั้น การบริโภค น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส จะทำให้เพิ่มกรดไขมันจำเป็น ส่งผลให้ลดอาการทางจิตใจได้

-น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส กับ โรคอัลไซเมอร์
โรคอัลไซเมอร์ เป็นโรคความจำเสื่อม มักจะเกิดกับผู้สูงอายุ มีอาการหลงลืม โดยสูญเสียความทรงจำเกี่ยวกับปัจจุบันไป แต่สามารถจำอดีตได้ การที่ผู้สูงอายุสูญเสียความทรงจำไปนี้เพราะขาดกรดไขมันจำเป็น ผลก็คือ เม็ดเลือดแดงจะมีเยื่อหุ้มเซลล์แข็งขึ้นกว่าเดิม ทำให้จับออกซิเจนได้ลดลง เป็นผลให้สมองได้รับเลือดไปเลี้ยงน้อยกว่าปกติ จึงเกิดอาการหลงลืม การบริโภค น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส เข้าไป สามารถเพิ่มกรดแกมมา ไลโนเลนิก (GLA) จะทำให้เม็ดเลือดแดงกลับคืนสู่สภาพปกติ กล่าวคือ สมองได้รับออกซิเจนไปเลี้ยงเพิ่มมากขึ้น อาการดังกล่าวข้างต้นก็จะทุเลาลง

-น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส กับ โรค ไข้หวัด
หลังจากการติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัด ร่างกายจะอ่อนเพลียเสมอ ทั้งนี้เพราะการติดเชื้อหวัดจะกระทบต่อการดูดซึมกรดไขมันจำเป็นชนิดกรดไลโนเลอิก (Linoleic - LA) เข้าสู่ร่างกาย อีกทั้งยังยับยั้งการเปลี่ยนกรดไลโนเลอิก (Linoleic - LA) ไม่ให้เป็นกรดแกมมา ไลโนเลนิก (GLA) อีกด้วย
ในขณะที่เป็นหวัด ร่างกายจึงขาดกรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า 6 อย่างรุนแรงทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามเนื้อตัว และเกิดอาการอ่อนเพลียอย่างรุนแรง ซึ่งการบริโภค น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส จะสามารถบรรเทาอาการหวัดลงได้

-น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส กับ โรคตับเรื้อรัง
ผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง จะมีกรดไขมันจำเป็นในเลือดผิดปกติ โดยมีกรดชนิด กรดไลโนเลอิก (Linoleic - LA) สูงผิดปกติ แต่เมตาโบไลต์ชนิดอื่นในปฏิกิริยาเคมีอยู่ในระดับต่ำ แสดงว่าร่างกายของผู้ป่วยโรคตับเรื้อรังไม่สามารถเปลี่ยน กรดไลโนเลอิก (Linoleic - LA) ให้กลายเป็นกรดแกมมา ไลโนเลนิก (GLA) ดังนั้นฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน 1 (Prostaglandin E1 – PGE1) จึงมีระดับต่ำ ทำให้โรคตับมีอาการกำเริบขึ้น เพราะภูมิต้านทานจะต่ำลง อาการอักเสบมีมากขึ้น เม็ดเลือดขาวทำงานไม่ดี การบริโภค น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส จะสามารถบรรเทาอาการโรคตับลงได้

ปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน
ปริมาณที่แนะนำของจำนวนของกรดไขมัน GLA ที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันนั้น คือ 240 มิลลิกรัมต่อวัน ดังนั้นปริมาณที่แนะนำของ น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส สำหรับรักษาอาการต่างคือ รับประทานครั้งละ 1,000 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ซึ่งจะเทียบเท่ากับปริมาณ GLA 240 มิลลิกรัมตามที่ต้องต่อวัน

สำหรับผู้ป่วย เบาหวาน: ปริมาณที่แนะนำให้รับประทานคือ ครั้งละ 1,000 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ร่วมกับรับประทาน น้ำมันปลา (Fish Oil) อีกครั้งละ 1,000 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง

ข้อแนะนำในการรับประทาน

-รับประทาน น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส พร้อมอาหารเพื่อลดอาการข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้น

-เพื่อให้ได้ผลดีในการใช้ในการรักษาอาการปวดประจำเดือน ดังนั้นเพื่อให้ น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส เปลี่ยนเป็น GLA ได้ดีควรรับประทานร่วมกับ Multivitamin (ควรจะประกอบไปด้วย zinc, vitamin C, vitamin B-complex vitamins และ magnesium)

-ในรายที่ต้องการผลด้าน ผิวหนัง ผม และเล็บ อาจจะต้องใช้เวลา 2-6 เดือนกว่าจะเห็นผล

อาการข้างเคียง
ถึงแม้ว่า น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส จะให้คุณประโยชน์ มากมาย แต่สำหรับผู้บริโภคบางรายที่รับประทานเข้าไปแล้ว อาจจะเกิดอาการข้างเคียงได้ อาทิ

-อาการคลื่นไส้ ท้องอืดเฟ้อ

-อาการปวดศรีษะ

-อาการผื่นแพ้

-อาการลมชักกำเริบ

ในยุคปัจจุบันนี้ ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะบริโภคกรดไขมันอิ่มตัวจากการกินเนื้อสัตว์ นม ช็อกโกแลตมากเกินไป จนกระทั่งกรดไขมันอิ่มตัวเข้าไปแทนที่กรดไขมันจำเป็น ทำให้ร่างกายได้รับกรดไขมันจำเป็นชนิดโอเมก้า 6 ไม่เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายอยู่ในสภาวะที่สมดุล และช่วยป้องกันและบรรเทาอาการของโรคต่างๆ ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น ดังนั้นจึงควรบริโภค น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส เพื่อให้ร่างกายเปลี่ยน กรดไลโนเลอิก (Linoleic - LA) เป็น กรดแกมมา ไลโนเลนิก (GLA) ทำให้ร่างกายมีสุขภาพดีในที่สุด

แร่ธาตุ สังกะสี


สังกะสีคืออะไร
ปกติทั่วไปร่างกายมนุษย์ต้องการสารอาหารหลัก 5 หมู่ คือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามินและเกลือแร่ ในสัดส่วนที่เหมาะสมเพื่อให้การทำงานของร่างกายเป็นปกติ โดยเกลือแร่หรือแร่ธาตุนั้นเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายรองจาก น้ำ ไขมัน และโปรตีน ซึ่งแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับองค์ประกอบที่ดีของชีวิตสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทแรกคือ แร่ธาตุปริมาณมาก (Macro Minerals) ใช้เรียกแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการมากกว่า 100 มิลลิกรัมต่อวัน เช่นแคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม เป็นต้น โดยจะพบแคลเซียมในร่างกายมากที่สุด รองลงมาเป็นฟอสฟอรัส ส่วนแร่ธาตุประเภทที่สอง คือ แร่ธาตุปริมาณน้อย (Trace Minerals) โดยแร่ธาตุกลุ่มนี้ร่างกายต้องการเพียงเล็กน้อย แต่ไม่สามารถขาดได้เลย เพราะมีความสำคัญต่อการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย กล่าวคือ ถ้าขาดสารอาหารพวกนี้ไป ร่างกายก็จะผิดปกติไป ทั้งๆ ที่ปริมาณที่จำเป็นต่อสุขภาพต่อวันมีจำนวนเล็กน้อยเท่านั้นเอง

สังกะสี จัดเป็นแร่ธาตุในกลุ่มแร่ธาตุปริมาณน้อย (Trace Minerals) มีชื่ออีกอย่างว่า ซิงค์ (Zinc) สัญลักษณ์ทางเคมี คือ Zn ประมาณร้อยละ 90 ของสังกะสี ในร่างกายอยู่ที่กระดูกและกล้ามเนื้อ อีกร้อยละ 10 อยู่ที่ ตับอ่อน ตับ เลือด โดยส่วนที่อยู่ในเม็ดเลือดนั้น ร้อยละ 80 อยู่ในเม็ดเลือดแดง และร้อยละ 20 อยู่ในน้ำเลือด ส่วนใหญ่ของ สังกะสี ที่รับประทานเข้าไปจะถูกขับถ่ายออกทางอุจจาระ ซึ่งเป็นผลรวมของ สังกะสี ที่บริโภคเข้าไปแล้วไม่ถูกดูดซึมจากน้ำย่อยของลำไส้เล็ก นอกจากนี้ร่างกายยังขับถ่าย สังกะสี ออกทางปัสสาวะโดยจับกับ กรดอะมิโน ได้อีกด้วย ซึ่งในคนปกติจะขับถ่าย สังกะสี ออกประมาณวันละ 300 – 600 ไมโครกรัม

ประโยชน์ของสังกะสี
สังกะสี มีลักษณะเหมือนกับแร่ธาตุและ วิตามิน อื่นๆ คือ เป็นสารอาหารทีไม่ให้พลังงาน แต่ทำหน้าที่เป็นเพียงตัวกำกับการทำงานของร่างกาย มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์กรดนิวคลิอิก และโปรตีนเอนไซม์ในร่างกายมากกว่า 100 ชนิด อาจกล่าวได้ว่าเอนไซม์ที่เป็นสารสำคัญในการเกิดปฏิกิริยาภายในร่างกายเกือบทุกชนิดต้องการ สังกะสี เป็นส่วนประกอบจึงจะทำหน้าที่ได้ดี ดังนั้น สังกะสี จึงมีความสำคัญต่อการทำงานของทุกอวัยวะในร่างกายเรา โดยอาจสรุปขบวนการที่ สังกะสี มีส่วนร่วมในการทำงานในร่างกายมนุษย์ได้ดังต่อไปนี้

1. สังกะสี เป็นส่วนหนึ่งของเอ็นไซม์แอลกอฮอล์ดีไฮโดรจีเนส (Alcohol Dehydrogenase) ซึ่งเอ็นไซม์นี้มีหน้าที่ในการกำจัดแอลกอฮอล์ ซึ่งถือเป็นสารพิษในตับ (Liver)

2. สังกะสี ร่วมทำงานกับ เอ็นไซม์ แลคเตตและมาเลตดีไฮโดรจีเนส (Latate and Malate Dehydrogenase) ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ที่ร่างกายใช้ในขบวนการสร้างกำลังงาน

3. สังกะสี มีส่วนร่วมทำงานกับเอ็นไซม์ อัลคาไลน์ ฟอสฟาเตส (Alkaline Phosphatase) ซึ่งจำเป็นในขบวนการสร้างกระดูกและฟัน

4. สังกะสี เป็นส่วนหนึ่งของเอ็นไซม์ซูเปอร์อ๊อกไซด์ ดิสมิวเทส (Superoxide Dismutase; SOD) ซึ่งเป็นสารต้านปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่น (Potent Anti-oxidants) ที่มีอยู่ในร่างกาย

5. สังกะสี เป็นส่วนหนึ่งของเอ็นไซม์ คาร์บอร์นิคแอนไฮเดรส (Carbonic Anhydrase) ซึ่งพบว่าเอ็นไซม์นี้มีส่วนเกี่ยวข้องในการทำงานอย่างสมดุลของระบบประสาทสมอง

6. สังกะสี จำเป็นสำหรับการสังเคราะห์โปรตีนและสร้าง คอลลาเจน มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการเจริญเติบโตของเด็ก

7. สังกะสี ช่วยให้เซลล์สามารถจับกับวิตามิน เอ (Vitamin A) ไว้ได้ดีขึ้น และช่วยให้เซลล์สามารถนำเอาวิตามินเอไปใช้ประโยชน์ได้ดีขึ้นด้วย ซึ่งช่วยทำให้เซลล์ผิวพรรณที่ถูกสร้างขึ้นใหม่ๆ มีสุขภาพดี และพบว่ายังเกี่ยวข้องกับการรักษาสมดุลของปริมาณไขมันในผิวหนัง และควบคุมปัญหาการเกิดสิวจากการอุดตันของไขมันได้ด้วย

8. สังกะสี มีส่วนสำคัญในขบวนการสร้างกรดนิวคลีอิค (Nucleic acid) ทั้งดีเอ็นเอ (DNA) และอาร์เอ็นเอ (RNA) ซึ่งพบว่าในระยะที่ร่างกายต้องการสร้างเซลล์ใหม่ๆ ไม่ว่าหลังผ่าตัด, เป็นแผลต่างๆ ยิ่งจำเป็นต้องมีขบวนการนี้มากขึ้นเสมอ

9. สังกะสี ยังช่วยในการปรับปรุงการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย โดยเฉพาะควบคุมการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิด ทีลิมโฟไซต์ (T-lymphocyte) ให้ทำงานป้องกันเชื้อโรคแปลกปลอมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

10. สังกะสี มีความสำคัญต่อการควบคุมการทำงานของฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) และควบคุมการทำงานของอวัยวะรับสัมผัส (Taste Sensation) ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

11. สังกะสี จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและการเจริญของระบบสืบพันธุ์ และช่วยให้ต่อมลูกหมากทำหน้าที่ได้ถูกต้อง ป้องกันการเป็นหมัน

ปริมาณความต้องการสังกะสี
จากคุณสมบัติของ สังกะสี ข้างต้น แสดงให้เห็นว่าในกระบวนการทำงานเกือบทุกระบบในร่างกายล้วนแต่ต้องการ สังกะสี เป็นส่วนประกอบในการทำงานด้วยกันทั้งนั้น จึงนับได้ว่า สังกะสี เป็นแร่ธาตที่ร่างกายต้องการเป็นประจำไม่สามารถขาดได้เลย โดยปริมาณความต้องการ สังกะสี ของแต่ละคนจะแตกต่างกันตามเพศ วัย และภาวะของร่างกาย ซึ่งประเทศสหรัฐอเมริการได้ทำการวิจัยและกำหนดความต้องการ สังกะสี (Zinc) ปกติของมนุษย์ไว้ตามตารางข้างล่างนี้

ปริมาณ สังกะสี ที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวัน (Daily RDAs For Zinc)

อายุน้อยกว่า 1 ปี ปริมาณที่แนะนำ 3 – 5 มิลลิกรัม/วัน

อายุ 1 –10 ปี ปริมาณที่แนะนำ 10 มิลลิกรัม/วัน

อายุ 11 ปีขึ้นไป ปริมาณที่แนะนำ 15 มิลลิกรัม/วัน

สตรีในระยะตั้งครรภ์ ปริมาณที่แนะนำ 20 – 25 มิลลิกรัม/วัน

สตรีในระยะให้นมบุตร ปริมาณที่แนะนำ 25 – 30 มิลลิกรัม/วัน

แหล่งของสังกะสี
สำหรับร่างกายมนุษย์แล้วไม่สามารถสร้างหรือสังเคราะห์ สังกะสี ได้ขึ้นเอง จำเป็นต้องบริโภคอาหารเพื่อให้ได้รับสารดังกล่าว ซึ่งแหล่งอาหารตามธรรมชาติที่มีปริมาณ สังกะสี สูง ได้แก่ เนื้อสัตว์ ตับ อาหารทะเลโดยเฉพาะหอยนางรม เป็นแหล่ง สังกะสี ที่ดี เพราะดูดซึมง่ายกว่าพวกพืชผัก โดยมีการวิจัยพบว่าอาหารจำพวกเนื้อเมื่อถูกย่อยเป็น กรดอะมิโนจะมีส่วนช่วยให้ร่างกายดูดซึม สังกะสี ได้ดีขึ้น โดยธัญพืชประเภท ข้าว ข้าวโพด มี สังกะสี อยู่ปริมาณน้อย ส่วนผัก ผลไม้แทบไม่มีปริมาณ สังกะสี อยู่เลย ซึ่งปริมาณ สังกะสี ในอาหารที่บริโภคประจำวันมีดังนี้

เนื้อสัตว์ อาหารทะเล 1.5 – 4 มิลลิกรัม/100 กรัม
หอยนางรม 75 มิลลิกรัม/100 กรัม
ตับ 4 – 7 มิลลิกรัม/100 กรัม
ไข่แดง 1.5 มิลลิกรัม/100 กรัม
น้ำนมวัว 0.4 มิลลิกรัม/100 กรัม
น้ำนมแม่ 0.1 – 0.4 มิลลิกรัม/100 กรัม
ธัญพืช 0.4 – 1 มิลลิกรัม/100 กรัม
ถั่ว 0.6 - 3 มิลลิกรัม/100 กรัม

โดยในการบริโภคอาหารประจำวัน เราควรเลือกรับประทานอาหารที่ให้ปริมาณ สังกะสี เพียงพอต่อร่างกายในแต่ละวัน อย่างไรก็ตามในการดำเนินชีวิตประจำวันปกติของเราทุกวันนี้ ยังมีปัจจัยหลายประการที่ทำให้ร่างกายได้รับปริมาณ สังกะสี ไม่เพียงพอได้ตลอดเวลา ปัจจัยดังกล่าว ได้แก่

1. การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง เช่น อาหารที่มีปริมาณ สังกะสี ต่ำ, อาหารที่มีแร่ธาตุทองแดง (Copper) มากเกินไป, พวก ไฟเบอร์, ไฟเตต (Phytates), แอลกอฮอล์ (Alcohol), ฟอสเฟต (Phosphate) เพราะสารเหล่านี้จะไปลดการดูดซึม สังกะสี ผ่านผนังลำไส้ของคนเราได้

2. อายุที่มากขึ้น (Aging) ประสิทธิภาพการดูดซึม สังกะสี ลดลง

3. หญิงในระยะตั้งครรภ์ (Pregnant) ต้องการ สังกะสี มากเป็นพิเศษ

4. การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดเป็นเวลานาน ทำให้ขาดธาตุ สังกะสี ได้

5. ภาวะโรคต่างๆ ที่ต้องการแร่ธาตุ สังกะสี เป็นพิเศษ เช่น การติดเชื้อเรื้อรัง (Chronic infections) พิษสุราเรื้อรัง (Alcoholism) ผิวหนังอักเสบ (Psoriasis) ตับแข็ง (Cirrhosis)

6. โรคพันธุกรรม ที่ทำให้การดูดซึม สังกะสี ไม่ดี พบในเด็กเล็ก เรียกว่า Acrodermatitis Enteropathica (โรคผิวหนังอักเสบ และผิดปกติทางจิตใจ)

อาการขาดสังกะสี
ซึ่งถ้าร่างกายมีอาการขาดแร่ธาตุ สังกะสี เป็นเวลานาน จะเป็นผลให้เกิดอาการต่างๆ มากมาย ดังนี้

1. การเจริญเติบโตในเด็กล่าช้า ตัวเล็ก แคระแกรน หรือหยุดชะงักเป็นหนุ่มเป็นสาว

2. ผิวหนังมีการอักเสบ โดยระยะแรกจะเป็นรอบปาก และอวัยวะเพศ ต่อมาจะลามไปที่แขนและขา เริ่มแรกอาจเป็นแค่ผื่นแดง ต่อมาจะมีลักษณะเป็นเม็ดพุพอง

3. ระบบทางเดินอาหาร ทำให้มีอาการเบื่ออาหาร การรู้รสลดน้อยลง

4. ระบบประสาท อาจมีอาการซึมเศร้า หงุดหงิด ขาดสมาธิ เหม่อลอย และมีอาการตาบอดแสงได้

5. ระบบต่อมไร้ท่อ คือ ทำให้อวัยวะเพศเด็กเล็ก ไม่โตขึ้นตามวัย

6. มีอาการผมร่วง แตกปลาย เล็บเปราะ ผิวแห้ง

สรุปประโยชน์ของสังกะสี
ในขณะที่ถ้าร่างกายได้รับปริมาณ สังกะสี ที่เหมาะสม เพียงพอต่อความต้องการตามแต่ละสถานะของแต่ละคนแล้ว นอกจากไม่ต้องเผชิญกับอาการขาดธาตุ สังกะสี ดังกล่าวแล้ว กลับเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของเราอย่างมากมาย ซึ่งสามารถสรุปประโยชน์จากแร่ธาตุ สังกะสี ได้ดังนี้

1. ช่วยเสริมสร่างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ช่วยต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บที่จะมาแผ้วพานร่างกายคนเรา จากการศึกษาหลายชิ้นให้ผลว่า ถ้าร่างกายได้รับ สังกะสี ปริมาณเพียงพอแก่ความต้องการแล้ว จะมีผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของเราอยู่ในสภาพสมบูรณ์

2. ป้องกัน มะเร็ง พบว่าผู้ป่วย มะเร็งต่อมลูกหมาก จะมีปริมาณ สังกะสี ต่ำกว่าคนปกติ จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สังกะสี สามารถยับยั้งการเจริญของเซลล์ มะเร็งต่อมลูกหมาก ได้

3. ป้องกันไม่ให้ตาบอดในผู้สูงอายุ การสูญเสียการมองเห็นในผู้สูงอายุที่เรียกว่า macular degeneration นั้นพบว่า เกิดจากการขาดธาตุ สังกะสี

4. ป้องกันและรักษาโรคหวัด พบว่าเมื่อเริ่มเป็นหวัด ถ้ารีบรับประทานธาตุ สังกะสี ทันทีจะ ช่วยให้อาการหวัดรุนแรงน้อยลงและจำนวนวันที่ป่วยก็ลดลงด้วย

5. ช่วยคงสภาพการรับรู้รส กลิ่น และสายตา คนเราเมื่อมีอายุมากขึ้น การรับรู้รอาหารมักจะเปลี่ยนไป บางคนอาจไม่เจริญอาหารและบอกว่า "อาหารไม่อร่อย" นั้น อาจมาจากการรับรู้รสของอาหารเปลี่ยนไปเพราะขาดธาตุ สังกะสี ก็ได้

6. กระตุ้นให้แผลหายเร็วขึ้น คนที่มีบาดแผลต่างๆ หรือเป็นแผลในกระเพาะอาหาร การให้ธาตุ สังกะสี จะทำให้แผลหายเร็วขึ้นกว่าคนที่ไม่ได้รับธาตุ สังกะสี

7. เพิ่มความรู้สึกทางเพศในผู้ชาย การผลิตสเปิร์มของผู้ชายต้องการธาตุ สังกะสี มาก จะเห็นได้ว่า ต่อมลูกหมากเป็นอวัยวะที่มี สังกะสี มาก การสร้างฮอร์โมนเพศชาย ก็ต้องการธาตุ สังกะสี เช่นกัน

8. ช่วยรักษาและป้องกันการเป็นหมันในผู้ชาย สังกะสี มีส่วนสำคัญในการสร้างสเปิร์มและฮอร์โมนเพศชาย การให้ธาตุ สังกะสี วันละ 50 มก. จะทำให้ปริมาณน้ำเชื้อเพิ่มมากขึ้นได้

9. ป้องกันต่อมลูกหมากโต คนสูงอายุมักประสบปัญหาต่อมลูกหมากโต แพทย์จึงให้ สังกะสี ในการรักษาซึ่งก็ได้ผลดี

10. รักษาสิว คนหนุ่มสาวมีปัญหาเรื่องสิว ฝ้า เวลาสิวอักเสบจะไม่น่าดู มีการให้ธาตุ สังกะสี แก่คนที่ขาดธาตุสังกะสีและเป็นสิว ปรากฏว่าได้ผลดี สิวจะหายไป

11. ป้องกันผมร่วง สังกะสี จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์ของร่างกายของเส้นผม บางรายผมหลุดร่วงไปและกิน สังกะสี ก็จะช่วยให้เส้นผมใหม่งอกขึ้นได้เร็วขึ้น แต่ในรายหัวล้านตามอายุนั้นใช้ไม่ได้ผลเพราะไม่มีรากผม

12. เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานมักเป็นแผลและติดเชื้อง่าย สังกะสี จะช่วยให้ แผลที่เป็นนั้นหายเร็วขึ้นและช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานต่อโรคด้วย

13. ลดอาการอักเสบและช่วยรักษาโรครูมาตอยด์อาไทรลิส พบว่าคนเป็นโรคนี้จะมีปริมาณ สังกะสี ในเลือดน้อยกว่าคนทั่วไป จากการทดลองให้ธาตุ สังกะสี ไปพบว่า อาการดีขึ้นมากในเรื่องข้อต่อต่างๆ ที่บวม, ข้อแข็งหรือยึดติด

จะเห็นได้ว่าประโยชน์ของธาตุ สังกะสี มีมากมายต่อร่างกายคนเรา แต่อย่างไรก็ตามในการบริโภค สังกะสี ควรกระทำในขนาดพอดี เหมาะสมแก่วัยและสภาวะ โดยถ้าร่างกายคนเราได้รับปริมาณ สังกะสี ที่มากเกินพอดี จะก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้ ซึ่งโทษของการได้รับ สังกะสี มากเกินไปจะก่อให้เกิดอาการต่างๆ ดังนี้

1. ภูมิคุ้มกันร่างกายเสื่อม และ สังกะสี ยังขัดขวางไม่ให้ร่างกายใช้ธาตุทองแดงได้เต็มที่เป็นผลให้ระดับทองแดงในเลือดต่ำ ทำให้เกิดอาการซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ

2. โดยถ้าร่างกายได้รับ สังกะสี เกินกว่า 2 กรัมขึ้นไป จะเกิดอาการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารแบบเฉียบพลัน ทำให้ปวดท้อง และอาเจียนได้

3. ในกรณีที่บริโภคมากกว่าวันละ 100 มก. เป็นเวลานานจะทำให้ระดับไขมัน HDL (High-density lipoprotein) ซึ่งเป็นไขมันชั้นดีลดลง

โดยสรุปแล้วถึงแม้ว่า สังกะสี จะเป็นแร่ธาตุกลุ่มที่ร่างกายต้องการเพียงเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับแร่ธาตุอื่น แต่ความสำคัญต่อร่างกายมิได้มีเพียงเล็กน้อยแต่อย่างใด กลับเป็นแร่ธาตุที่สำคัญยิ่งต่อกระบวนการทำงานทุกๆ ระบบของร่างกาย โดยแหล่งอาหารธรรมชาติที่มีปริมาณ สังกะสี สูง คือ อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ และอาหารทะเล เมื่อใดก็ตามที่ร่างกายได้รับ สังกะสี ไม่เพียงพอก็จะก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยหรือโรคต่างๆ ได้มากมาย ในขณะเดียวกันถ้าร่างกายได้รับ สังกะสี เป็นปริมาณที่เกินพอดีก็จะก่อโทษให้กับร่างกายได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นควรเลือกเดินทางสายกลาง บริโภคอาหารที่ให้แร่ธาตุ สังกะสี ในปริมาณที่พอเพียงเหมาะสมต่อร่างกาย นอกจากจะไม่ต้องเผชิญกับโรคที่เกี่ยวกับการขาดธาตุสังกะสีแล้ว ยังมี